วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Modulor Man

Louis I. Kahn (1901-74)


Kahn ได้รับการฝึกฝนในรูปแบบการศึกษาของ Beaux-Arts tradition ที่มหาวิทยาลัย Pennsylvania สมัย Paul P. Cret เป็นผู้อำนวยการ เขาเริ่มทำงานในสำนักงาน Cret's office ในช่วงปี 1929-30. ในปี 1930s ถึง 40s เคยร่วมงานทางความคิดที่ท้าทายกับ Buckminster Fuller และ Frederick Kiesler. ต่อมาได้พัฒนาความคิดของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ไปสู่การสร้างสรรค์ระเบียบที่ต่อเนื่องกันและกัน จากรูปแบบโครงสร้างที่บึกบึนเดิม เขากำหนดที่ว่าง ในความหมายของความทึบที่เกิดจากกำแพงอิฐ ด้วยโครงสร้างที่โปร่งใส ดูเข้าใจง่าย ในองค์ประกอบทางเรขาคณิต รูปแบบเป็นทางการ มีแกนปรากฏอย่างชัดเจน เป็นลักษณะปรากฏที่สำคัญของ ที่ว่าง และรูปทรงอาคารที่เกิดขึ้นตามระเบียบวิธีการของความเป็น Beaux-Arts tradition. Kahn's architecture เน้นคุณภาพทางอารมณ์ รื้อฟื้นความทรงจำในอดีตของอาคารก่ออิฐโบราณที่ขาดหายไป


จุดต่างทางทฤษฎีของ Kahn's คือ การกำหนดตรงประโยชน์การใช้สอย แต่ขยายปรัชญาที่เป็นสาระการใช้สอยของอาคารมากขึ้น "human institution" เป็นที่ซึ่งอาคารต้องตอบสนองให้บังเกิดขึ้น "human institutions" ก่อกำเนิดจากแรงบรรดาลใจของการมีชีวิตอยู่ที่ดี ในสามประการ คือ แรงบรรดาลใจที่จะเรียนรู้ แรงบรรดาลใจที่จะพบกันและกัน และแรงบรรดาลใจที่จะอยู่อย่างปกติสุข และสิ่งเหล่านี้ เขาก็พยายามสะท้อนความคิดในด้านการศึกษาด้วย

"I think of school as an environment of spaces where is good to learn. Schools began with a man under a tree, who did not know he was a teacher, discussing his realization with a few who did not know they were students . . . the existence-will of school was there even before the circumstances of a man under a tree. That is why is good for the mind to go back to the beginning, because the beginning of any established activity is its most wonderful moment."
ปรัชญาข้างต้นนี้ สะท้อนถึงคำตอบในงานสร้างสรรค์ของเขาในทางรูปทรงสถาปัตยกรรม อาคารไม่ใช่การก่อเกิดของการจัดที่ว่าง และรูปทรง อย่างเฉื่อยชา แต่ควรก่อให้เกิดความมีชีวิตชีวา สร้างสรรค์โดยสถาปนิก เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ บ่อยครั้งที่เขามักตั้งคำถาม "What does the building want to be?" นี่เป็นการตอบสนองการสร้างระเบียบที่กว้างขวางไร้ขอบเขตจำกัด เขาทำให้ปรากฏในงานออกแบบระยะหลัง ด้วยการแสดงออกของขบวนการก่อสร้าง ที่ปรากฏได้ชัดเจนทางรูปทรงสถาปัตยกรรม ประโยชน์ใช้สอยต้องรวมอยู่ในรูปทรงทางสถาปัตยกรรม แต่ต้องค้นพบได้จากขบวนการออกแบบทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้น ความงาม ไม่ใช่สิ่งที่เขาให้ความสนใจในทันที แต่เป็นความจริงที่แสดงออกมา และเหมาะสมกับประโยชน์ที่มุ่งหมาย ตามความคิดเขา เป็นส่วนเกี่ยวข้องกับความประสงค์ที่เรียกร้องให้ปรากฏขึ้น เขาสรุปไว้ว่า ลักษณะพื้นฐานและคุณสมบัติของอาคารต้องการการค้นหาให้ปรากฏ ต้องใส่ใจ ต้องสรุปรวมไว้ ให้เกิดขึ้นให้ได้ในรูปทรงของสถาปัตยกรรม และแล้ว ความงามของสถาปัตยกรรมนั้น ก็จะบังเกิดขึ้นในที่สุด

Kahn ให้ความสำคัญกับ แสงธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งทำให้สถาปัตยกรรมมีชีวิตได้ ไม่เหมือนแสงประดิษฐ์ ซึ่งคงที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลง จึงเป็นความตาย. Light ในความคิดเขา ไม่เพียงทำให้มนุษย์มองเห็นสิ่งต่างๆได้เท่านั้น แต่เป็นสาระในตัวมันเอง มันเป็นตัวแทนของธรรมชาติ ซึ่งกฏเกณท์และสาระต่างๆถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน เขาพิศวง ธรรมชาติของแสงที่เป็นเส้นโค้ง คุณสมบัติที่ให้ผลทางจิตวิทยาและความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่มหัศจรรย์ ในความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ของวันเวลาและฤดูกาล Kahn มองเห็นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม ในรูปของ column, arch, dome, and vault, ในความสามารถที่กำหนด แสงและเงา ให้ปรากฏขึ้นในงานสถาปัตยกรรม ในปี 1939, Kahn ปฏิเสธความคิดง่ายๆ ที่ยึดถือกันในสังคม เช่น ลัทธิประโยชน์ใช้สอยนิยม จะต้องสามารถสะท้อนคุณประโยชน์ให้เด่นชัด ในโครงการศึกษา Rational City (1939-48) เขามองเห็น ความต้องการที่ทำให้เกิดความแตกต่างชัดเจน ระหว่าง สถาปัตยกรรม "viaduct" ท่อลำเลียงน้ำ (Le Corbusier's "Ville Radieuse") และอาคารในลักษณะของความเป็นมนุษย์ การจัดวางแผนผังส่วนกลางของเมือง Philadelphia เขาพยายามนำรูปแบบเก่า ของ Piranesi's Rome ในยุคปี 1762 มาประยุกต์ใช้กับเมืองในสมัยใหม่ การเปรียบเทียบถนนทางด่วนเหมือนแม่น้ำ ถนนที่มีสัญญานไฟจราจร เหมือนลำคลอง เขาระมัดระวัง ต่อความขัดแย้งของรถยนต์และเมือง และการเชื่อมต่อที่ล้มเหลว ระหว่าง ผู้บริโภคกับศูนย์การค้าในชนบท และความเสื่อมโทรมของศูนย์กลางชุมชนหลักๆในเมือง เขาเสนอคำตอบในความคิดของ "dock" ท่าจอดเรือ (1956) ประกอบเป็นอาคารปล่องกลมสูง ๖ ชั้น สำหรับที่จอดรถ จุได้ 1,500 คัน ล้อมรอบด้วยกลุ่มอาคารทั่วไปสูง ๑๘ ชั้น ในลักษณะคำนึงถึงขนาดใกล้เคียงสัดส่วนของมนุษย์

Kahn ออกแบบโครงการสำหรับ Philadelphia City Hall (1952-7) มี Ann Tyng เป็นผู้ร่วมงาน โครงการนี้ได้รับอิทธพลความคิดจากผู้ที่เคยสนใจเรื่องเดียวกันมาก่อน คือ Buckminster Fuller จากความคิดพื้นฐานของ geodesic skyscraper ซึ่งประกอบด้วยพื้น เป็นหน่วยๆ รูปปิระมิดสามเหลี่ยม เป็นโครงสร้างสูงที่สามารถตอบสนองการต้านแรงลมโดยตรง,

ในปี 1954, ผลงานออกแบบ Yale Art Gallery เน้นสาระสำคัญของ กำแพง พื้น และ เพดาน อย่างเด่นชัด ประกอบเป็นปริมาตรที่ว่างสำคัญ รูปหกเหลี่ยม กำเนิดจากรูปโค้งกลม เป็นที่ตั้งของบันได กล่องโค้งกลมนี้เป็นส่วนของ "servant" และพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมอื่น เป็น "served" สถาปัตยกรรมที่ไม่สมดุลป์นี้ ไม่ขึ้นอยู่กับหลักการใด ของการประกอบเป็นโครงสร้างโดยทั่วๆไป แต่เป็นการจัดแจงพื้นแผ่นผืนที่ไร้ข้อจำกัดในการสนองการรับแสงธรรมชาติ การจัดที่ว่าง และเสารองรับภายในอาคาร

ในปี 1957, Louis Kahn มีชื่อเสียงในการออกแบบอาคาร Richards Medical Research (1957-61) ให้กับ the University of Pennsylvania ในเมือง Philadelphia. กล่องกำแพงอิฐที่เป็นช่องท่อต่างๆ แสดงออกเหมือนปล่องระบายควันไฟจากเตาผิงในบ้าน ห้องปฏิบัติการผนัง กระจก สะท้อน ภาพหอคอยป้องกันภัยของสถาปัตยกรรมในยุคกลาง หรือเมืองตามภูเขาในอิตาลี่ หลักการสำคัญในการออกแบบ Richards Laboratories คือการกำหนดความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่าง ที่ว่างของ "served" และ "servant" ห้องปฏิบัติการผนังกระจกเป็น "served spaces" แยกจากปล่องอิฐสูงที่ทำหน้าที่เป็น "servant spaces" แต่ละอัน ต่างมีโครงสร้างเป็นอิสระจากกัน ความคิดที่ซับซ้อนในการออกแบบ เป็นวิธีการของเขาที่กำหนดเป็นการรวมตัวของหน่วยหลัก ที่ต่อเนื่องกันเป็นแนว ยอมรับการขยายตัวของชุมชน ที่เน้นเป็นปัญหาสำคัญในสมัยนั้น

ในปี 1959, เขาออกแบบ First Unitarian Church ที่ Rochester New York (1959-63). แนวคิดหลักของโบสถ์ คือ ที่ประกอบพิธีตรงกลาง ทางเดิน และ โรงเรียน ถูกจัดล้อมรอบตามที่นิยมกัน งานออกแบบขั้นสุดท้าย ประกอบด้วย กล่องจตุรัสสองกล่องรวมกันอยู่ตรงกลาง มีปล่องสูง ๔ ปล่องแยกกันอยู่ตรง ๔ มุม ซึ่งเป็นที่รับ และกระจายแสงธรรมชาติไปทั่วบริเวณภายในห้องประกอบพิธีของโบสถ์

ในปี1962, เขาออกแบบอาคาร National Assembly ในเมือง Dacca ประเทศ Bangladesh (1962-74) เป็นวางการซ้อนกันของกำแพงอิฐหลายส่วน (layers) โดยรอบ ก่อนถึงที่ว่างชั้นในสุด ที่เป็นห้องประชุมใหญ่ ห้องแถลงข่าว ห้องประชุมย่อย และห้องสวดมนต์ ซึ่งวางแนวตรงไปที่นครเมกกะ ตามหลักการของศาสนาอิสลาม ให้ลักษณะเด่นชัด เช่นเดียวกับป้อมปราการในอดีต แนวคิดเรื่องการวางแนวซ้อนหลายชั้นนี้ เพื่อผลการกรองรับแสงธรรมชาติ และผ่านตรงส่วนตัดเฉือนของกล่อง ที่ประกอบด้วยกำแพงก่อโชว์แนว เสริมบางส่วนด้วยโครงคอนกรีตตรงช่องเปิด คุณสมบัติที่เกิดขึ้นนี้ อ้างว่าเขาได้รับแรงบรรดาลใจจากความคิด "brise-soleil" ของ Le Corbusier โดยสรุปความคิด เขาบันทึกไว้ดังนี้ "I thought of the beauty of ruins . . . of things which nothing lives behind . . . and so I thought of wrapping ruins around buildings."

ในปี 1966-ผลงานออกแบบ Kimbell Art Museum ในเมือง Fort Worth, Texas (1966-72), ใช้แนวคิดของหน่วยซ้ำของโครงสร้างผิวเปลือกโค้งทางเดียว แต่ละหน่วย (barrel-vaulted bay) มีขนาด 20 ฟุต x 100 ฟุต วางต่อเนื่องเป็น ๖ แถวขนานกัน แต่ละโค้งเป็นแนวยาว ทำหน้าที่เป็นเหมือนคานยาว ความกว้างโค้ง ๒.๕ ฟุต ลึกถึงฐานตรงคานขอบ ๑๐ ฟุต ส่วนบนสุดของโค้ง เจาะช่องแสงยาวติดแผงโลหะ "natural lighting fixture" ผิวมันโค้ง เพื่อกระจายแสง "silver light" แล้วรวมตัวกับบริเวณสวนปฏิมากรรม เป็น "green light" ลงด้านล่างภายในอาคาร

เรียบเรียงจากบางส่วน หรือทั้งหมดจากเอกสารต้นฉบับที่ผลืตโดย
Bret Thompson
Paul Holje
Jack Potamianos


http://calvin.cc.ndsu.nodak.edu/Arch/Kahn/Kahn.html

Louis I Kahn is considered to be one of the great master builders of our time. This is an educational compilation of his work and history. You may use the navagation bar at the top to explore other parts of this profile.
"You can never learn anything that is not a part of yourself."
  • B a c k g r o u n d T i m e l i n e
    1901: Born in Osel, Estonia
    1905: Came to Philidelphia, USA
    1928: Studied classical architecture in Europe
    1937-1939: Participated in Public Housing Projects
    1947: Taught at Yale Univ.
    1955: Taught at Univ. of Pennsylvania
    1965: F.A.I.A. Medal of Honor Danish Architectural Association,
    1971: Gold Medal, A.I.A.,
    1972: Royal Gold Medal for Architecture, R.I.B.A.,
    1974: Passed away
F a m o u s S t r u c t u r es ..............Year .........................Location
Yale Univ. Art Gallery ...................1951-53 ............New Haven, Connecticut
Newton Richards Medical Research Building 1957-65 Philidelphia, Pennsylvania
First Ulitarian Church and School ...1959-69 ...........Rochester New York
Salk Institute for Biological Studies ..1959-65 .............La Jolla, California
Philip Exeter Academy Library ..........1965-72 ...........Exeter, New Hampshir
Kimbell Art Museum ...........................1966-72 ............Fort Worth, Texas
Sher-E-Bangladesh Nagar: National Capital of Bangladesh Assembly Hall *(completed by D.Wisdom & Associates) ..1962-83 ........Daka, Bangladesh
__________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น: