วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

The Notebooks&Drawings of Louis I Kahn

From..the notebooks and drawings of Louis I. Kahn
Edited and Designed by
Richard Saul Wurman and Eugene Feldman,1962

Natural light...แสงธรรมชาติ

ที่ว่าง..จะปราศจากคุณค่าในแง่สถานที่ทางสถาปัตยกรรม หากไม่มีแสงธรรมชาติสาดส่อง ส่วนแสงประดิษฐ์นั้้้น เป็นแค่เพียงแสงสว่างในยามค่ำคืนที่สาดมาจากโคมไฟที่ติดตั้งไว้ในตำแหน่งถาวร เปรียบเทียบไม่ได้เลยกับแสงธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดวัน

สถานที่..ทางเข้า ช่องทางเดิน แตกแขนงมาจากการกระจายตัวของแสง ทางเข้าที่คุ้นเคย เกิดได้กับที่ว่างที่มีีองค์ประกอบของรูปทรงสัมพันธ์เป็นสถาปัตยกรรมอันอิสระ ที่ว่างทางสถาปัตยกรรมนี้ สำคัญเที่ยบเท่าที่ว่างหลัก แม้ว่าที่ว่างเหล่านี้จะถูกออกแบบเพียงแค่ทางผ่าน แต่ก็ต้องออกแบบให้ได้แสงธรรมชาติอย่างทั่วถึง


สถาปัตยกรรมของความเกี่ยวพันกันเช่นนี้ จะไม่ปรากฏในโปรแกรมความต้องการเรื่องพื้นที่ ซึ่งสถาปนิกนำเสนอต่อลูกค้า หรือแม้ขณะค้นหาความเหมาะสมอื่นทางการใช้สอยสถาปัตยกรรม หรือแม้ขณะกำลังกำหนดทิศทางการออกแบบก็ตาม

ลูกค้าถามหาพื้นที่ ในขณะที่สถาปนิกต้องเสนอคำตอบของที่ว่าง
ลูกค้าคิดถึงทางเดินผ่านอยู่ในใจ สถาปนิกต้องค้นหาเหตุผลเพื่อให้เป็นซุ้มทางเดินที่น่าสนใจใคร่อยากเดิน
ลูกค้าให้งบประมาณ สถาปนิกต้องตอบสนองด้วยความเหมาะสมหรือคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
ลูกค้าพูดถึงห้องแรกรับ สถาปนิกต้องเพิ่มคุณค่าห้องทางเข้านี้ให้เป็นสถานที่ทรงอำนาจและมีความสง่างาม

สถาปัตยกรรมนั้้น เกี่ยวข้องกับที่ว่าง ซึ่งเกิดจากความช่างคิดและมีความหมาย ที่ว่างทางสถาปัตยกรรม เป็นที่ซึ่งโครงสร้างปรากฏให้เห็นในที่ว่างนั้นด้วยตัวของมันเอง โครงสร้างช่วงกว้างแม้เป็นความพยายามอย่างยิ่งยวดก็ไม่ควรขัดขวางการแบ่งกั้นภายใน ศิลปะทางสถาปัตยกรรมเกิดขึ้นจากตัวอย่างของที่ว่างซ้อนทับกันในที่ว่างด้วยกัน โดยปราศจากการเสแสร้งหลอกลวง แต่สำหรับกำแพงที่แบ่งกั้นที่ว่างใต้หลังคาโดม จะทำลายจิตวิญญานของความเป็นโดม เพราะโครงสร้างโดมที่ออกแบบนั้น ถูกกำหนดโดยแสงที่สาดส่องภายใน จากช่องโค้งใต้คาน ทรงกลมของโดมและเสารองรับรวมตัวกันเป็นโครงสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะของการรับแสงธรรมชาติ

แสงธรรมชาติสนองให้เกิดอารมณ์ของที่ว่างด้วยความละมุนของลำแสงที่ผันแปรเปลี่ยนในแต่ละช่วงเวลาของวัน แต่ละช่วงฤดูของปี อันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของที่ว่างตลอดเวลาในที่สุด

About..The realm of Architecture

วันหนึ่ง..ขณะที่ยังเป็นเด็ก ข้าพเจ้ากำลังลอกภาพวาดของนโปเลียน ตาข้างซ้ายของนโปเลียนในภาพสร้างความลำบากให้มากๆ ข้าพเจ้าต้องลบออกแล้วเขียนใหม่อยู่หลายครั้งก็ย้งไมเป็นที่่พอใจสักที ทันใดนั้นเอง บิดาข้าพเจ้าโน้มตัวลงช่วยเขียนแก้ไขให้ด้วยความสงสาร หลังจากนั้น ข้าพเจ้าก็ขยำภาพวาดนั้นขว้างทิ้งไปกลางห้องพร้อมกับดินสอทันที กับตะโกนตามไปว่า "นี่..ไม่ใช่ภาพวาดของข้าพเจ้าอีกต่อไปแล้ว..ไม่ใช่อีกแล้ว" เพราะ คนสองคนไม่สามารถร่วมเขียนภาพเดียวกันได้เด็ดขาด และ ข้าพเจ้าเชื่อว่าคนที่มีความชำนาญในการลอกเลียนภาพวาดควรได้รับการตรวจสอบแก้ไขจากศิลปินเจ้าของภาพต้นฉบับเองเท่านั้น



ความอิ่มเอิบใจอย่างแท้จริงอันเกิดมาจากการเขียนภาพ มีลักษณะและคุณภาพเฉพาะในตัวของมันเอง ซึ่งผู้ลอกเลียนไม่สามารถเลียนแบบได้เลย นามธรรมเฉพาะตนกับ ความสอดคล้องระหว่างเรื่องราวและความคิด ก็ไม่สามารถลอกเลียนกันได้เช่นเดียวกัน

Albi ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ปัจจุบัน ข้าพจ้ารู้สึกถึงความเชื่อในการเลือกเฟ้นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของมัน พร้อมกับความปิติและตื่นตาตื่นใจหลอมรวมกันขึ้นในตอนเริ่มต้นของการทำงานจวบจนกระทั่งงานนั้นเสร็จสิ้น ข้าพจ้าเขียนรูปของ St.Cecile Cathedral, Albi จากส่วนล่างขึ้นไปยังส่วนบน ราวกับว่าข้าพเจ้ากำลังก่อสร้างมัน ข้าพเจ้ารู้สึกอิ่มเอิบใจจริงๆ แม้ความอดทนในการก่อสร้างไม่มีใครพึงต้องการ แต่ข้าพเจ้าก็วาดมันโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่ายทั้งๆที่ต้องคอยแก้ไขสัดส่วนเพื่อความถูกต้องเลย เพราะข้าพเจ้าต้องการค้นหาเพื่อสัมผัสความตื่นเต้นที่เกิดขึ้นในใจของสถาปนิกขณะนั้น

เสมอเหมือนการจดบันทึกทางดนตรี ที่เป็นการแสดงออกของโครงสร้างและท่วงทำนองเพื่อการได้ยิน แบบแปลนคือการให้คะแนน หรือการเขียนเพลงสำหรับเครื่องเล่นเฉพาะ เปิดเผยโครงสร้างและองค์ประกอบของที่ว่างท่ามกลางแสงธรรมชาติ แบบแปลนสะท้อนข้อจำกัดของรูปทรงทางสถาปัตยกรรม ในขณะที่รูปทรงเป็นความคล้องจองกันของระบบ เป็นตัวขับเคลื่อนในการออกแบบทางเลือก แบบแปลนจึงเป็นการเผยอุบัติกาลของรูปทรงทางสถาปัตยกรรม

สำหรับสถาปนิกแล้วสรรพสิ่งในโลกปรากฏอยู่ในบริบทหรืออาณาจักรของสถาปัตยกรรม เมื่อเขาเดินผ่านต้นไม้เขาไม่ได้เห็นในบทของนักพฤษศาสตร์ แต่เห็นในแง่ความสัมพันธ์กับตัวตนของเขา เขาวาดภาพต้นไม้ในลักษณะที่เขาจินตนาการว่ามันกำลังงอกงาม เพราะเขาคิดถึงการเจริญเติบโตของมัน ทุกๆกิจกรรมของมนุษย์เกี่ยวข้องกับโลกเป็นตัวตนของเขาแต่ละคน มีการเชื่อมโยงกิจกรรมของคนอื่นๆกับกิจกรรมเฉพาะของตนเอง

สองสามปีมาแล้ว ตอนที่ข้าพเจ้าไปเที่ยว Careassonne ชั่วขณะที่เดินผ่านประตูทางเข้า ข้าพเจ้าเริ่มเขียนบันทึกด้วยการวาดภาพ เพราะจากจินตภาพ จะทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากความฝันที่เป็นจริงต่อมา เพราะข้าพเจ้าเริ่มศึกษาจากความทรงจำนี้ในเรื่องเส้นสาย สัดส่วนและรายละเอียดที่มีชีวิตชีวาของอาคารยิ่งใหญ่เหล่านั้น ข้าพเจ้าใช้เวลาแทบทั้งวันอยู่ที่บริเวณลานโล่งตรงกลาง ตามแนวป้อมกำแพงป้องกันภัยโดยรอบและตามหอคอยต่างๆ โดยไม่ใส่ใจเรื่องสัดส่วนที่เหมาะสมและเรื่องรายละเอียดที่ชัดเจนนัก ขณะใกล้หมดวัน ข้าพเจ้าจึงลองกำหนดรูปร่างและการจัดวางอาคารต่างๆขึ้นมาใหม่ในความสัมพันธ์ที่แตกต่างจากของเดิม

พวกบรรณาธิการของนิตยสารทั้งหลาย มักเลือกเอาภาพร่างในสองสามโครงการณ์ เลือกทุกอันที่ให้อารมณ์และมีพัฒนาการแทนที่จะคัดเอาแต่เพียงแบบของโครงการณ์ใหญ่ๆ การเลือกทำนองนี้ทำให้สถาปนิกใหม่เหมือนนักเขียนหรือจิตกรกับกระดาษที่ว่างเปล่า ซึ่งเขาสามารถบันทึกทุกขั้นตอนในการพัฒนาหรือปรับปรุงในสิ่งที่เขาต้องการทำให้เกิดขึ้น

สมุดวาดภาพของจิตกร นักปฏิมากร หรือสถาปนิก ควรมีความแตกต่างกัน จิตกรร่างภาพเพื่อวาด ปฏิมากรร่างภาพเพื่อปั้น ส่วนสถาปนิกเขียนแบบหรือวาดภาพเพื่อการก่อสร้างมันในที่สุด
About...the Pantheon

อ้างถึงอาคาร Pantheon ในกรุงโรม ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งอาคารที่ยิ่งใหญ่ ความยิ่งใหญ่มีหลายแง่มุม แง่หนึ่งมันเป็นสิ่งสะท้อนของความเชื่อแลความเห็นที่มั่นคงบนอาคารเพื่ออุทิศให้กับศาสนาและที่ว่างทางพิธีกรรมที่อิสระ สะท้อนความรู้สึกออกมาอย่างชัดเจน มันนำเสนอความเชื่อของผู้นำที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในการออกแบบทีว่างแบบโดมที่ไร้ทิศทาง ราวกับว่าสถาปัตยกรรมถูกแสดงออกเป็นโลกที่ซ้อนอยู่ในโลกใบใหญ่ของเรา มันสะท้อนออกมาได้อย่างดี ด้วยการปรับแต่งอย่างประนีตในรูปช่องแสงกลมหนึ่งเดียวตรงกลางบนสุดของโดม อาคารนี้ไม่มีต้นแบบ สิ่งเร้าของมันชัดเจนและเต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อและพลังของ "ความต้องการเป็น" ให้แรงบันดาลใจในการออกแบบเท่าๆกับแรงปรารถนาในรูปทรงของมัน

ทุกวันนี้ อาคารต้องการบรรยากาศของความเชื่อจากสถาปนิกในงานออกแบบ ความเชื่อสามารถเกิดจากความตระหนักที่ว่า สถาบันใหม่ๆต้องการที่จะเกิดขึ้นและแสดงออกมาให้เห็นได้ในรูปที่ว่าง ความเชื่อใหม่ๆมาพร้อมความเป็นสถาบันใหม่ๆที่ต้องการแสดงออกถึงที่ว่างใหม่และความสัมพันธ์ใหม่ๆ ความรู้แจ้งในสถาปัตยกรรมแสดงออกในแง่ความเป็นสถาบันที่มีรูปทรงเฉพาะเป็นพิเศษเป็นต้นแบบใหม่ เป็นการเริ่มต้นใหม่ ข้าพเจ้าเชื่อว่าความงามสามารถสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระและเสรี ความงามก่อเกิดออกมาจากความประสงค์ที่ต้องการจะเป็น ซึ่งอาจเกิดจากการแสดงออกมาครั้งแรกๆในลักษณะโบราณสุดๆ เปรียบเทียบกันได้ระหว่าง Paestum กับ Parthenon ความโบราณของ Paestum เป็นการเริ่มต้น มันเป็นช่วงเวลาเมื่อกำแพงผ่านเลยไป และเสากลายเป็นเสมือนดนตรีเข้ามาบรรเลงในงานสถาปัตยกรรม


Paestumให้แรงบันดาลใจแก่ Parthenon ซี่งได้รับการพิจารณาว่ามีความสวยงามกว่า แม้ว่า Paestum ยังคงความสวยงามสำหรับข้าพเจ้าอยู่ก็ตาม เพราะมันนำเสนอการริเริ่มในสิ่งที่รวมความประหลาดใจเข้าไว้ และตามด้วยความตื่นตัวอยู่เสมอ องค์ประกอบใหม่ของเสา เป็นเสมือนตัวจังหวะของการปิดล้อมและเปิดของที่ว่างให้ความรู้สึกของการเข้าถึงที่ว่างนั้นๆ มันเป็นเสมือนที่เก็บจิตวิญญาณของสถาปัตยกรรม หรือความเชื่อในศาสนาซึ่งมีอิทธิพลกับสถาปัตยกรรมของเราในปัจจุบัน
About..Structure of Building

ในยุคโกธิค สถาปัตยกรรมสร้างด้วยหินก้อนตัน ปัจจุบันสถาปนิกสามารถสร้างมันด้วยหินก้อนกลวง ที่ว่างโดนกำหนดด้วยองค์ประกอบของโครงสร้างที่แต่ละชิ้นส่วนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขนาดของที่ว่างไล่เรียงเริ่มจากช่องว่างทีปิดทับด้วยแผ่นฉนวน ช่องอากาศเพื่อให้แสงสว่าง และความร้อนพัดผ่าน จนมีขนาดช่องว่างที่ใหญ่ขึ้นพอให้คนเดินผ่านหรือพักอาศัยได้ แรงปรารถนาที่แสดงออกมาของช่องว่าง เกิดจากการออกแบบโครงสร้างบนพื้นฐานความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และการทำงานที่มีพัฒนาการจนนำไปสู่โครงสร้างชนิดประสานกัน รูปทรงที่ถูกนำมาใช้ทดลองมาจากความรู้ที่ใกล้ชิดธรรมชาติและมาจากการคิดค้นบนหลักการที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น


การออกแบบจนกลายเป็นนิสัยนำไปสู่การปกปิดโครงสร้างจนไม่มีที่สำหรับอ้างถึงกฏเกณฑ์อีกต่อไป นิสัยเช่นนี้ทำให้พัฒนาการของศิลปะกลายเป็นเรื่องปัญญาอ่อน ข้าพเจ้าเชื่อว่าสถาปัตยกรรมเหมือนศิลปะทั้งหลายทั้งปวง ศิลปินมักใช้สัณชาตญาณเป็นการรักษาไว้ถึงร่องรอยซึ่งจะบ่งบอกว่ามันถูกสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างไร


ในความรู้สึกของข้าพเจ้า สถาปัตยกรรมปัจจุบันกลับต้องการการแต่งเติมให้มีส่วนส่งเสริมความพอใจของเราเพื่อการมองเห็น จนปิดบังขบวนการรวมตัวของชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน โครงสร้างมักถูกแบ่งแยกไว้เพื่อสนองงานระบบที่จำเป็นสำหรับห้องหรือที่ว่างต่างๆ เพดานมักปิดซ่อนโครงสร้างให้ลดขนาดหรือสัดส่วนลงไป ถ้าเราฝึกให้เขียนแบบเหมือนว่าเรากำลังก่อสร้างจากส่วนล่างขึ้นไปยังส่วนบน ในตำแหน่งเมื่อเราหยุดดินสอเขียนมันจะกลายเป็นเครื่องหมายของจุดต่อเชื่อมการก่อสร้าง ส่วนประดับตกแต่งก็จะเกิดขึ้นตรงนี้บ่งแสดงออกถึงกรรมวิธีการสร้าง และยังมีความจำเป็นต้องปิดซ่อนที่มาของแสงสว่างและท่ออุปกรณ์ต่างๆที่ไม่พึงประสงค์ของงานระบบที่ปะไว้กับโครงสร้าง ดังนั้น ความรู้สึกถึงโครสร้างและที่ว่างเพื่อตอบสนองกันอย่างไรก็พลอยสูญหายไปด้วย แรงปรารถนาเพื่อแสดงออกว่ามันถูกทำขึ้นมาได้อย่างไรมักโดนบดบังผ่านกระบวนการก่อสร้าง ผ่านต่อถึงสถาปนิก วิศวกร ช่างก่อสร้าง และช่างศิลป์ทั้งหลายAbout..Beginning

เริ่มกันในยุคของความเชื่อเรื่องรูปทรง


การออกแบบ...เป็นเครื่องชี้ชัดสนองความเชื่อเรื่องดังกล่าว


การก่อสร้าง... คือกิจกรรมที่เกิดจากการกำหนดระบบและกฏเกณฑ์
แต่เมื่องานเสร็จสิ้นลง จุดเริ่มต้นควรสามารถหวลรำลึกถึงได้


รูปทรง..คือการประจักษ์แจ้งในรูปลักษณ์ที่ไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้ต่อไป รูปทรงซึ่งไม่ใช่วัสดุ รูปร่างหรือสัดส่วนที่ปรากฏให้เห็นอีกต่อไป


การออกแบบแต่ละครั้ง คือการจุดประกายแต่ละทีที่อุบัติออกมาจากรูปทรงมันเกี่ยวข้องกับวัสดุ รูปร่างและสัดส่วน เป็นการยากที่จะกล่าวถึงงานเมื่อมันเสร็จแล้ว เพราะท่านจะรู้สึกอยู่เสมอว่ามันคงยังไม่เสร็จสักที


ข้าพเจ้าเรียกการเริ่มต้น คือความเชื่อมั่น เป็นเวลาที่การประจักษ์แจ้งของรูปทรงเกิดขึ้น เป็นความรู้สึกเหมือนเรื่องของศาสนาและความคิดเชิงปรัชญา ซึ่งไม่ใช่เรื่องราวของวัสดุ รูปร่างและสัดส่วนในที่สุด และแล้วข้าพเจ้าก็หวลระลึกถึงการผจญภัยในการออกแบบ เมื่อความฝันกลายเป็นแรงบันดาลใจ


รูปทรงต้องสนองตอบระเบียบและกฏเกณฑ์ที่มันเป็น คนๆหนึ่งควรรู้สึกถึงงานคนอื่นเสมือนเป็นการจุดประกายการก้าวล่วง ในความอิ่มใจของความเป็นสามัญธรรมดาและในความเชื่อ
About..Richard Medical Research Buildingตึกปฏิบัติการค้นคว้าในมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียที่ข้าพเจ้าออกแบบ เป็นที่รวมความรู้แจ้งในแง่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ควรมีคุณค่าเสมือนห้องเขียนภาพ และอากาศที่หายใจต้องแยกอากาศปนเปื้อนและอากาศเสียออกจากกันโดยสิ้นเชิง โดยทั่วๆไปแบบแปลนของห้องปฏิบัติการณ์มักวางที่ว่างทำงานข้างทางเดินตรงกลาง อีกด้านเป็นที่ว่างสำหรับบันได ลิฟท์ ห้องขังสัตว์ทดลอง ท่อและงานระบบอื่นๆ แปลนแบบนี้ทำให้ตรงบริเวณทางเดินดังกล่าว มีอากาศที่หายใจผสมปนเปกับอากาศเสียที่เกิดจากการทดลองจนเป็นอากาศพิษได้ ความแตกต่างสำหรับที่ว่างในการทำงานของแต่ละคนแบ่งแยกด้วยจำนวนประตูเท่านั้น แต่สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ ข้าพเจ้าออกแบบเป็นลักษณะห้องปฏิบัติการรวมสามชุดคนทำงานแต่ละคนทำงานในส่วนจัดแบ่งเป็นส่วนๆของแต่ละคน แต่ละห้องปฏิบัติการรวมมีปล่องระบายอากาศเสียแยกย่อยในแต่ละกรณี


อาคารหลักศูนย์กลางล้อมด้วยปล่องลักษณะหอคอยสามปล่องเพื่องานระบบท่อต่างๆ ซึ่งในระบบแปลนเดิมๆจะอยู่อีกด้านของทางเดินตรงข้ามส่วนเป็นห้องทำงาน และตรงอาคารหลักนี้ยังมีปล่องระบายอากาศย่อยที่ใช้รับอากาศดีจากภายนอกเพื่อการระบบายอากาศภายในอาคาร โดยอยู่ในระยะไกลจากปล่องระบายอากาศเสียอื่นๆ การออกแบบทำนองนี้เน้นการแยกที่ว่างใช้สอยและส่วนสนับสนุนที่ต้องการอันเป็นลักษณะที่แสดงออกถึงห้องปฏิบัติการค้นคว้าทดลองอย่างเด่นชัด
จากที่กล่าวมานี้ ข้าพเจ้าไม่ได้หมายถึงการวางระบบการคิดและทำงานเพื่อชี้นำรูปทรง เพื่อนำไปสู่การออกแบบ แต่การออกแบบควรทำให้เกิดการรู้แจ้งของรูปทรง ในระหว่างสองสิ่งนี้ เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นอย่างแน่นอนของงานสถาปัตยกรรม

ข้าพเจ้าไม่ชอบท่อ ไม่ชอบรางวางสายอุปกรณ์ต่างๆ ข้าพเจ้าเกลียดมันทั้งนั้น เพราะเกลียดสิ่งเหล่านี้จริงๆ ข้าพเจ้าเลยรูสึกว่าต้องหาที่ทางให้สิ่งเหล่านี้ หากเพียงแต่เกลียดแล้วไม่ใส่ใจ สิ่งพวกนี้ก็จะรุกรานและทำลายอาคารในที่สุด ข้าพเจ้าต้องการแก้ไขในกรณีที่ท่านอาจเข้าใจว่าข้าพเจ้าชอบสิ่งพวกนี้

About...Richard Medical Research Building...again

วันหนึ่งระหว่างที่กำลังรอเพื่อน ข้าพเจ้าสังเกตุเห็นเครื่องยกกำลังทำงานยกชิ้นส่วนหนักๆของตึกปฏิบัติการณ์ในบริเวณมหาวิทยาลัย วันก่อนๆที่เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของเจ้าตัวสีแดงนี้ซึ่งมีขนาดใหญ่เกินอาคารและชิ้นส่วนที่มันกำลังยกวางเข้าที่ มันมีภาพปรากฎเสมอในทุกความก้าวหน้าของการก่อสร้างที่ข้าพเจ้าเฝ้าดู
สะท้อนให้ข้าพเจ้ารู้ว่าการออกแบบต้องถูกบังคับโดยความสามารถของเครื่องยกนี้ ข้าพเจ้าคิดว่าช่วงเสาราวสองสามร้อยฟุตมีช่วงพาดกว้างมากทีเดียว ลักษณะของเสากลายสภาพเป็นที่รวมของห้องบริการ มีชิ้นส่วนประกอบเข้าด้วยกันเห็นรอยต่อและส่วนเชื่อมติดกันในแต่ละชิ้นอย่างน่าสนใจ จริงๆแล้วรอยต่อของชิ้นส่วนเหล่านี้เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากระยะไกล มันสะท้อนให้ข้าพเจ้าพบว่านี่คือส่วนตกแต่งอาคารนั่นเอง


ตรงนี้รูปทรงของเสาถูกออกแบบให้สนับสนุนที่ว่างขนาดใหญ่ เพราะว่าชิ้นส่วนเหล่านี้ใหญ่เกินไปมีน้ำหนักเกินกว่าน้ำหนักของเครื่องยก ข้าพเจ้าคิดว่ามันต้องการเครื่องยกที่ใหญ่กว่านี้จนลืมเรื่องอื่นๆ ขณะนี้รอยต่อต้องการเน้นโดยการอุดรอย ในระดับเดียวกันกับที่เสาถูกบุครอบด้วยแผ่นหินอ่อน


ชิ้นส่วนกลายเป็นเส้นเลือดมีกำลังที่ผสมผสานแสดงออกของการทำงานของมัน ชิ้นส่วนเล็กๆประกอบรวมกันเข้า สะท้อนเรื่องดังกล่าวที่คิด ทันใดนั้นเครื่องยกกลับกลายเป็นความคุ้นเคยกัน


และแล้วข้าพเจ้าก็คิดถึงการปิดล้อมที่ว่าง โครงสร้างของหลังคาและผนังเดิมๆด้วยวัสดุอย่างเดียวกัน ขณะนี้เสาและคานกลายเป็นวิทยาการของคอนกรีตและเหล็กที่มีความสามารถแต่ไม่มีความสัมพันธ์ในเชิงจังหวะกับการปิดล้อม การปิดล้อมกลายเป็นตัวของมันเองโดยลำพัง


มันเหมือนราวกับว่าสามารถสร้างอาคารด้วยหินในสมัยเรเนซองค์ อาคารนี้ประกอบด้วยห้องที่ต้องการสนับสนุนที่ว่างภายในที่ยิ่งใหญ่ ถ้าคิดถึงการใช้วัสดุในปัจจุบัน การปิดหุ้มอาคารคงเป็นผนังกระจกทั้งหมด มันเน้นกระจกที่อัศจรรย์ จนกรอบแบ่งกลายเป็นกระจกไปด้วย ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้เหล็กแบ่งนี้มีบทบาทน้อยแค่เพียงเชื่อมต่อชิ้นส่วนของกระจก


เมื่อข้าพเจ้าคิดต่อไป ข้าพเจ้ารูสึกว่าทั้งหมดดูน่ารักแต่บอบบางเหมือนคนตัวเล็กเสียงดังพูดกับข้าพเจ้าว่า "หากท่านต้องการการช่วยเหลือ ขอให้ผมแนะนำ.. ผมคือโลหะไร้สนิม ผมสามารถสอนท่านถึงการเสริมกำลังให้กับตัวแบ่งและกระจก โดยไม่ไปบดบังอำนาจของมันเลย"
ตรงนี้ข้าพเจ้าได้บทเรียนใหม่ว่าวัสดุแต่ละอย่างมีสถานะของการออกแบบในงานสถาปัตยกรรมทั้งนั้น ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงระลึกถึงเครื่องยกที่มีอิทธิพลต่อความคิดในการออกแบบด้วยประการฉนี้แล

About...Nature

มนุษย์สร้างข้อกำหนดหรือเกณฑ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฏของธรรมชาติและจิตวิญญาณ ธรรมชาติทางวัตถุขึ้นอยู่กับกฏนี้ กฏต่างๆของธรรมชาติมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ระเบียบคือตัวจัดความสัมพันธ์ของสิ่งนี้ หากปราศจากความรู้ของกฏนี้และความรู้สึกต่อกฏนี้แล้ว ทุกๆสิ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้


ธรรมชาติคือผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง จิตมีความปรารถณาในสิ่งเหล่านั้น ท้าทายธรรมชาติโดยการปรุงแต่งแสดงออกในสิ่งที่แสดงออกไม่ได้ และในสิ่งที่ไม่สามารถกำหนดแน่นอนได้ ไม่มีมาตรวัด ไม่มีแก่นสาร เช่น ความรัก ความชัง ความสูงส่ง เป็นต้น แม้กระทั่ง จิตต้องการแสดงออกถึงความรู้สึกซึ่งไม่สามารถกระทำได้โดยปราศจากเครื่องมือ


กฏ(ธรรมชาติ)ก็คือเครื่องมือทั้งหลาย เช่น ไวโอลิน งามออกมาจากกฏ จากแผ่นผนังของไวโอลินทั้งบนและล่าง ทำให้ก้านสีกดสายที่ถูกยกกั้นไว้ระหว่างผนังเสมือนเสากั้นที่ต่อเนื่องกัน แม้แต่เสียงที่ออกมาจากช่องเจาะผนังด้านบนที่ถูกตัดแต่งจนมองไม่เห็นคานเล็กๆกั้นผนังที่ต่อเนื่องด้านใน กฏนำไปสู่ข้อกำหนดต่างๆ ข้อกำหนดเปลี่ยนแปลงได้เสมอเพราะเกิดจากมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้น

ธรรมชาติทำให้การออกแบบผ่านหลักการของระเบียบ
ธรรมชาติไม่รู้ว่าพระอาทิตย์ตกนั้นสวยอย่างไร
ธรรมชาติไร้ซึ่งจิตสำนึก
แต่สิ่งมีชีวิตมีจิตสำนึก
ข้อกำหนดหรือเกณฑ์
มีจิตสำนึก
ขณะที่กฏไม่มีจิตสำนึก


About..Question&Answer


ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า คำถามที่ดีหนึ่งคำถามมีความยิ่งใหญ่กว่าคำตอบเป็นร้อยที่สวยหรู เพราะคำถามเกี่ยวข้องกับสิ่งที่วัดได้และสิ่งที่วัดไม่ได้


ธรรมชาติทางวัตถุเป็นสิ่งที่จับต้องได้วัดได้ ขณะที่ความรู้สึก ความฝัน วัดกันไม่ได้ ไม่มีภาษา ความฝันของแต่ละคนเป็นเอกเทศเป็นเรื่องส่วนบุคคล


คนๆหนึ่งยิ่งใหญ่กว่างานของเขาเพราะเขาสามารถสะท้อนแรงบันดาลใจออกมาได้ การแสดงออกในเรื่องดนตรีหรือสถาปัตยกรรม เขาต้องใช้วิธีการที่วัดได้เพื่อแต่งเพลงหรือออกแบบ
เมื่อใดเส้นแรกที่ปรากฏบนกระดาษถูกวัดได้ไปพร้อมกับการแสดงออกที่ยังไม่ได้เต็มที่ เมื่อนั้นเส้นแรกในกระดาษหมดความหมายลงทันที แล้วย้อนกลับไปหาความรู้สึกที่หนีจากความคิดอีก


ความรู้สึกเป็นเรื่องของจิต ความคิดมีทั้งความรู้สึกและกฏเกณฑ์ ระเบียบหรือกฏเกณฑ์หล่อหลอมให้ทุกสิ่งปรากฏออกมาแต่ไร้แรงปรารถนา ไม่มีความมุ่งมาดปรารถนาปรากฏ


ข้าพเจ้าใช้คำว่ากฏเกณฑ์(ระเบียบ)แทนคำว่าความรู้ เพราะความรู้แต่ละคนมีน้อยมากไม่พอให้แสดงออกทางความคิดที่เป็นนามธรรมได้ ปรากฏการณ์ของความปรารถนาเป็นเรื่องของจิต ทุกสิ่งที่เราปรารถนาจะสร้างสรรค์มีจุดเริ่มต้นของความรู้สึกเพียงลำพัง นี่เป็นความจริงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ และเป็นความจริงสำหรับศิลปินด้วย แต่การใส่ใจเพียงความรู้สึกอย่างเดียวละเลยกับความคิดก็จะทำอะไรไม่ได้เลย


เมื่อความรู้สึกส่วนตนนำไปสู่ศาสนปรัชญา(ไม่ใช่ตัวศาสนาแต่เป็นสาระของศาสนา)และความคิดกลายเป็นปรัชญา ใจถูกเปิดออกสู่ความรู้แจ้ง รู้แจ้ง...เอาเป็นว่า ในปรากฏการณ์ความปรารถนาบนงานออกแบบสถาปัตยกรรมพิเศษในแง่วิสัยทัศน์ของที่ว่าง ความรู้แจ้งที่เป็นธรรมชาตินี้ คือการผสมผสานระหว่างความรู้สึกและความคิดขณะเมื่อจิตใจถูกปิดล้อมไว้ด้วยจิตสำนึก


ต้นเหตุของสิ่งหนึ่งที่ต้องการจะเป็น มันเป็นจุดเริ่มต้นของรูปทรง รูปทรงที่ประมวลความสัมพันธ์ของระบบต่างๆและกฎเกณฑ์ ซึ่งสะท้อนลักษณะต่อเนื่องกันไป รูปทรงไม่ใช่รูปร่างและสัดส่วน ตัวอย่างเช่น ช้อน เกิดเป็นรูปทรงที่มีสองส่วนแยกกันไม่ออก คือส่วนที่เป็นมือจับและส่วนที่เป็นแอ่งพักอาหาร


ในขณะที่การออกแบบเฉพาะเป็นช้อนเงิน ช้อนไม้ หรือช้อนวัสดุอื่นๆ ขนาดใหญ่เล็กและรูปร่างต่างๆนานา รูปทรงเกี่ยวข้องกับคำถาม อะไร? การออกแบบเกี่ยวกับคำถาม อย่างไร? รูปทรงไม่เป็นเรื่องของแต่ละคน แต่การออกแบบเป็นเรื่องของแต่ละคน การออกแบบเกิดขึ้นจากการแจกแจงในแต่ละสภาวะการณ์ขณะนั้น เช่น มีงบประมาณเท่าไร ที่ตั้งและลูกค้าเป็นอย่างไร กระทำไปด้วยความชำนาญและความรู้ของผู้ออกแบบ แต่รูปทรงไม่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขเหล่านี้
ในเรื่องสถาปัตยกรรม มันเกี่ยวข้องกับความสอดคล้องกันของที่ว่างที่ดีเพื่อตอบสนองกิจกรรมของมนุษย์ สะท้อนถึงคุณลักษณะอันเป็นนามธรรมของที่อยู่อาศัยที่รวมความเป็นบ้านและความสุขในบ้านเข้าด้วยกัน คำว่าที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะเป็นบ้าน หมายรวมถึงนามธรรมของที่ว่างที่ดีต่อการอยู่อาศัย ความหมายนี้คือ รูปทรง(ของบ้าน)ที่เกิดขึ้นในใจโดยปราศจากขนาดและสัดส่วน


ความหมายนี้ในอีกแง่ คือเงื่อนไขการแปลความหมายของที่ว่างเพื่ออยู่อาศัย ความหมายหลังนี้ คือ การออกแบบ ในความเห็นของข้าพเจ้า ความยิ่งใหญ่ของสถาปนิกขึ้นอยู่กับอำนาจรู้แจ้งของเขาว่าสิ่งไหนคือบ้านมากกว่าความสามารถในการออกแบบบ้าน..ซึ่งบางสิ่งเป็นการจัดเตรียมไว้ในสภาวะการณ์ในขณะนั้น


บ้าน คือที่อยู่รวมกันกับผู้อาศัย ความแตกต่างขึ้นอยู่กับผู้อาศัยแต่ละประเภท เพราะลูกค้าเป็นผู้กำหนดขั้นตอนการออกแบบพื้นที่และความต้องการต่างๆ สถาปนิกสร้างสรรค์ที่ว่างออกมาจากพื้นที่ที่ต้องการเหล่านี้ บ้านเช่นนี้ออกแบบเพื่อครอบครัวหนึ่งโดยเฉพาะ ถ้าจะให้สะท้อนความจริงในรูปทรง การออกแบบต้องตอบสนองคุณลักษณะที่ดีต่อครอบครัวอื่นๆด้วย
About...Schools

โรงเรียน เริ่มต้นจากการที่คนๆหนึ่งอยู่ใต้ต้นไม้ คนซึ่งไม่รู้ว่าตนเองเป็นครู กำลังสนทนาถึงความรู้แจ้งของเขากับคนอื่นอีกสองสามคนซึ่งไม่รู้ว่าเขาเหล่านั้นเป็นนักเรียน เขาเหล่านั้นได้สะท้อนการแลกเปลี่ยนระหว่างกันบนความดีงามที่ปรากฏบนตัวของคนๆนี้ พวกเขาอยากให้ลูกๆได้ฟังคนๆนี้ด้วยกัน และแล้วความต้องการที่ว่างก็ถูกสร้างขั้นเป็นโรงเรียนหลังแรกเกิดขึ้น การก่อตั้งโรงเรียนเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันกลายเป็นส่วนหนึ่งในแรงปรารถนาของมนุษย์


ระบบการศึกษาที่กว้างขวางรวมตัวกลายเป็นสถาบันของการเรียนรู้ของเราในปัจจุบัน เป็นแบบสำเร็จรูปและไร้แรงบันดาลใจ เพื่อให้แน่ใจ สถาบันนี้จะประกอบไปด้วยห้องเรียนเหมือนๆกัน มีตู้เก็บสัมภาระวางเรียงตลอดแนวของส่วนที่เป็นทางเดิน พร้อมกับส่วนบริการและอุปกรณ์ ถูกจัดไว้อย่างเรียบร้อย โดยสถาปนิกตอบสนองตามความต้องการและงบประมาณก่อสร้างซึ่งจำกัดโดยผู้มีอำนาจของโรงเรียน โรงเรียนลักษณะนี้ แม้ดูสวยแต่ตื้นเขินสำหรับงานสถาปัตยกรรม เพราะมันไม่ได้สะท้อนจิตวิญญาณของคนอยู่ใต้ต้นไม้เลย


อย่างไรก็ตาม มีการเริ่มต้นโดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งถือได้ว่าไม่มีการเริ่มต้นในทุกระบบของโรงเรียน แรงปรารถนาความมีอยู่ของโรงเรียนมีขึ้น ก่อนหน้าจะเกิดสภาวะการณ์ที่มีคนอยู่ใต้ต้นไม้ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการดีกับจิตใจที่ย้อนกลับไปสู่การเริ่มต้นใหม่ เพราะการเริ่มต้นของการกำหนดกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เป็นช่วงเวลาที่มหัศจรรย์ที่สุด เพราะในช่วงขณะนั้นจิตวิญญาณและทรัพยากรทั้งหลาย ซึ่งเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องค่อยๆระลึกถึงเพื่อสร้างแรงบันดาลใจออกมา เราสามารถทำให้สถาบันของเรายิ่งใหญ่ได้ โดยการให้สถาปัตยกรรมที่เราเสนอ ได้สะท้อนถึงแรงบันดาลใจของเราให้ได้

สะท้อนชั่วขณะในความหมายของโรงเรียน ที่ต่างจากโรงเรียนหรือสถาบันทั้งหลายในปัจจุบัน สถาบันมีอำนาจก็โดยจากที่เราได้ให้ความต้องการพิเศษสำหร้บโรงเรียนนั้นๆ โรงเรียนมีการออกแบบโดยเฉพาะ ก็เพื่อความมุ่งหวังความเป็นสถาบันจากเรา แต่ โรงเรียน...จิตวิญญาณของโรงเรียน สาระของความมีอยู่ในแรงปรารถนา คือสิ่งที่สถาปนิกควรนำไปใช้ผ่านตัวกลางในการออกแบบของเขาด้วย ตรงนี้จะทำให้สถาปนิกแตกต่างจากคนออกแบบทั่วๆไป

ห้องเรียนทั่วไปในโรงเรียนเช่นนี้ ไม่ควรเอาอย่างโรงเรียนทหารธรรมดาๆ แต่ควรมีที่ว่างที่หลากหลาย สำหรับความคิดที่มหัศจรรย์ในจิตวิญญาณของคนอยู่ใต้ต้นไม้ ที่แต่ละคนสามารถระลึกถึงได้ ครูหรือนักเรียนไม่เหมือนกันกับบางคนที่คุ้นเคยกับห้องที่มีเตาผิง หรือมีห้องขนาดสูงใหญ่สำหรับคนอื่นๆ และห้องอาหารต้องอยู่ชั้นใต้ถุนเพราะใช้กันน้อยครั้งด้วยหรือ? ช่วงเวลาพักผ่อนหลังอาหารไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนด้วยหรือ?

การรู้ซึ้งถึงที่ว่างโดยเฉพาะในความคิดของโรงเรียน ควรทำให้การออกแบบเป็นเรื่องของความเป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ กลายเป็นสิ่งท้าทายต่อสถาปนิกและปลุกให้ตื่นในการใส่ใจว่าอะไรคือโรงเรียนที่ต้องการจะเป็น เช่นเดียวกันกับการกล่าวถึงการใส่ใจในรูปทรงของโรงเรียน

Giotto เป็นจิตกรที่ยิ่งใหญ่ เพราะเขาเป็นศิลปินที่วาดท้องฟ้าเป็นสีดำในเวลากลางวัน และวาดนกที่ไม่สามารถบินได้ วาดสุนัขที่ไม่สามารถวิ่งได้ และเขาวาดคนมีขนาดใหญ่โตกว่าประตูทางเข้า จิตกรมีอภิสิทธิ์ในการกระทำสิ่งเหล่านี้ได้ เพราะเขาไม่ต้องให้คำตอบเรื่องแรงดึงดูดของโลกหรือสร้างจินตภาพตามสิ่งซึ่งเรารู้ในชีวิตจริงๆ ในฐานะของจิตกรเขาแสดงออกด้วยการขัดแย้งกับธรรมชาติ เขาสอนเราผ่านสายตาของเขาในเรื่องความขัดแย้งต่อธรรมชาติของมนุษย์ เช่นกัน ปฏิมากรสามารถปั้นและปรับแต่งที่ว่างด้วยวัตถุที่แสดงออกถึงการขัดแย้งกับธรรมชาติ อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมมีข้อจำกัดในเรื่องนี้ แม้เราสัมผัสข้อจำกัดของกำแพงที่มองไม่เห็นนี้ แต่เราก็ยังรู้มากขึ้นถึงอะไรที่มันห่อหุ้มไว้ จิตกรสามารถวาดล้อของปืนใหญ่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านสงคราม ปฏิมากรสามารถปั้นแต่งเป็นล้อเหลี่ยมได้เช่นกัน แต่สำหรับสถาปนิกล้อของปืนใหญ่ต้องเป็นวงกลม แม้ว่าจิตกรและปฏิมากรมีบทบาทสำคัญในโลกสถาปัตยกรรม เช่นเดียวกับที่งานสถาปัตยกรรมมีบทบาทสำคัญต่อโลกของจิตกรรมและปฏิมากรรมก็ตาม แต่มันไม่อยู่บนหลักการเดียวกัน อาจบอกได้ว่างานสถาปัตยกรรมเป็นการคิดสร้างที่ว่าง มันไม่ใช่การสนองตอบตามการ
ชี้แนะของลูกค้า แต่เป็นการสร้างสรรค์ที่ว่างเพื่อสนองความรู้สึกถึงความเหมาะสมในการใช้สอย
About....Buildings

อาคารที่ยิ่งใหญ่ ในความเห็นของข้าพเจ้า เริ่มขึ้นจากสิ่งที่วัดกันไม่ได้ แล้วสืบต่อไปสู่สิ่งที่วัดได้ในขบวนการออกแบบแต่อีกครั้ง ในตอนสุดท้ายควรกลับกลายเป็นสิ่งที่วัดกันไม่ได้เหมือนเดิม
การออกแบบเป็นการทำสิ่งให้วัดกันได้ จริงๆแล้วในประเด็นนี้ ท่านเป็นเหมือนธรรมชาติทางกายภาพในตัวเอง เพราะทุกสิ่งที่เป็นธรรมชาติทางกายภาพหรือวัตถุนั้นเป็นสิ่งที่วัดกันได้ แม้ว่าขณะนั้นยังวัดไม่ได้ก็ตาม เหมือนเช่นระยะทางระหว่างดวงดาวต่างๆในท้องฟ้าซึ่งเราคาดว่าจะวัดได้หมดในอนาคต


อะไรที่วัดไม่ได้เป็นเรื่องของจิตวิญญาณ จิตแสดงออกทางความรู้สึกและความคิดด้วย ข้าพเจ้าเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่วัดไม่ได้ ข้าพเจ้ารู้สึกว่าจิตวิญญาณของความคงอยู่ในแรงปรารถนาอาจเรียกว่าเป็นธรรมชาติที่บ่งชี้ต่อสิ่งที่มันต้องการจะเป็น ข้าพเจ้าคิดว่า ดอกกุหลาบต้องการจะเป็นดอกกุหลาบเท่านั้น


มนุษย์ถูกสร้างขึ้นจากความคงอยู่ของแรงปรารถนา ผ่านกฏของธรรมชาติในเรื่องการวิวัฒนาการ แต่มักมีผลเกิดขึ้นมาน้อยกว่าแรงปรารถนาในจิตวิญญาณของความมีอยู่ ในทำนองเดียวกัน อาคารจะมีความสมบูรณ์ก็เมื่อท่านเริ่มต้นในสิ่งที่วัดไม่ได้สืบไปสู่สิ่งที่วัดได้ต่อมา เพราะมันเป็นหนทางเดียวที่ท่านสามารถสร้างมันได้ หนทางเดียวที่ท่านจะนำอาคารเข้าสู่สิ่งที่วัดได้ คือท่านต้องยึดถือกฏ แต่ในตอนท้ายเมื่ออาคารนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา มันก็จะกลับไปให้รับรู้ถึงคุณภาพที่วัดกันไม่ได้ในที่สุด ขั้นตอนการออกแบบขึ้นอยู่กับปริมาณของอิฐ วิธีการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ แล้วต่อมาจิตวิญญาณของความมีอยู่ของอาคารก็เข้ามาแทนที่

About..Cityเพราะรถยนต์เศร้าใจต่อรูปทรงของเมือง ข้าพเจ้ารู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องแบ่งแยกระหว่างสถาปัตยกรรมท่อส่งสำหรับรถยนต์และสถาปัตยกรรมสำหรับกิจกรรมของมนุษย์ แนวโน้มของนักออกแบบต้องการเชื่อมสถาปัตยกรรมสองแบบนี้อย่างง่ายๆ จนสับสนต่อแนวทางการวางผังเมืองและวิทยาการที่ก้าวหน้า
สถาปัตยกรรมท่อส่งเข้าสู่เมืองตรงบริเวณรอบนอก มันต้องวางผังอย่างรอบคอบแม้ว่าจะมีราคาแพง ต้องเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เคารพต่อศูนย์กลางเมือง สถาปัตยกรรมท่อส่งนี้จะรวมถนนที่เคยอยู่ในเมืองเข้าด้วยกันเป็นอาคาร อาคารที่มีห้องของท่อและส่วนบริการอื่นๆใต้ตัวเมือง จึงทำให้ไม่มีอุปสรรคในการจราจรเมื่อมีการซ่อมแซมเกิดขึ้น สถาปัตยกรรมท่อส่งจะรวมแนวคิดของถนนต่างๆเข้าด้วยกัน มันจะแยกส่วนระหว่างจุดเคลื่อนที่และจุดหยุดการเคลื่อนที่ของรถเมล์และรถยนต์ส่วนบุคคล บริเวณที่เป็นเส้นทางด่วนจะเปรียบเหมือนแม่น้ำ แม่น้ำต้องการท่าจอดเรือ ส่วนถนนเปรียบเสมือนคลองต้องการท่าเทียบเรือ
อาคารรับรองของสถาปัตยกรรมท่อส่งนี้คือท่าจอดเรือ ลักษณะเป็นประตูทางเข้าที่ใหญ่โตสะท้อนรูปทรงของสถาปัตยกรรมแห่งการหยุดเคลื่อนที่ อาคารรับรองนี้ประกอบไปด้วยอาคารจอดรถตรงบริเวณศูนย์กลาง มีอาคารโรงแรมและร้านค้าขนาดใหญ่โดยรอบ บริเวณศูนย์การค้าอยู่ตรงระดับชั้นของถนนต่างๆ ยุทธวิธีการจัดวางตำแหน่งรอบใจกลางเมืองนี้ จะเป็นแนวความคิด ในการป้องกันเมืองที่จะโดนทำลายโดยรถยนต์ ในความรู้สึกที่ว่าเมืองกับรถยนต์กำลังทำสงครามกันอยู่ขณะนี้

การวางแผนสำหรับการขยายตัวใหม่ของเมืองจะไม่กระทำกันอย่างเฉยเมยอีกต่อไป แต่จะกลับกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา การแยกส่วนของสถาปัตยกรรมสองแบบนี้ สถาปัตยกรรมท่อส่งและสถาปัตยกรรมของกิจกรรมมนุษย์ จะส่งผลการเติบโตที่มีตรรกและมีสถานะภาพที่มั่นคงต่อการพัฒนาเมือง
เมืองเกิดจากการรวมตัวของสถาบันต่างๆ ที่กำหนดขึ้นและมีการสนับสนุนโดยประชาชนเมือง การศึกษา รัฐบาล และที่อยู่อาศัย คือสถาบันต่างๆดังกล่าว เมื่อสถาปนิกเริ่มงาน อาคารที่เขาออกแบบจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอันใดอันหนึ่ง ก่อนที่ลูกค้าจะพึงพอใจในความต้องการของเขา ซึ่งจะโดนบังคับให้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันทางสังคม อันต้องถือเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจในการออกแบบกันเลย
ข้าพเจ้าไม่สามารถทำนายสถาปัตยกรรมในอนาคตได้ ขอเพียงให้ทำงานกันภายใต้กฏของการรวมตัวกันก็พอแล้ว ทำให้สถาปัตยกรรมที่อยู่ในกฏเกณฑ์ใหม่เหมือนระบบกฏหมายต่างๆที่กลายเป็นส่วนร่วมรวมระเบียบทางกายภาพและธรรมชาติของมวลมนุษย์เข้าด้วยกัน นี่คืออำนาจที่มนุษย์จะก้าวข้ามข้อจำกัดของตนได้
เช่น คนๆหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่าต้องการบินเหมือนนก หรืออยากว่ายน้ำอย่างปลาและวิ่งได้อย่างกวาง ก็จะสามารถทำได้ ท่านอาจพูดได้ว่า..ใบโคลบเวอร์คือเจ้าเสือชีต้านั่นเอง อะไรๆที่ท่านต้องการ แทนที่จะเป็นการมองในแง่ดีเพียงการแก้ไขเมือง ควรเป็นการจัดระเบียบทางกายภาพเสียใหม่ ทำในสิ่งที่รถยนต์ต้องการ คือสถาปัตยกรรมของการเคลื่อนไหวหรือสถาปัตยกรรมท่อส่ง(รถยนต์) สถาปัตยกรรมนี้จะให้จินตภาพในแง่บวกสำหรับเมืองสมัยใหม่ ซึ่งทำให้จุดเปลี่ยนต่างๆของการสัญจรมีการเชื่อมต่อและสัมพันธ์แก่กันและกัน

About..Conclusion
รูปทรงเกิดจากความประหลาดใจ ความประหลาดใจแยกแขนงมาจากสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ ผนวกกับเรื่องราวที่เราถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ในแง่หนึ่ง ธรรมชาติบันทึกกระบวนสร้างนี้ไว้ อะไรๆที่เกิดขึ้นนั้นจะถูกบันทึกไว้รวมกับว่ามันถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร


จะสัมผัสกับบันทึกนี้ได้ก็ด้วยความประหลาดใจ ความประหลาดใจเป็นบ่อเกิดของความรู้ แต่ความรู้ต้องเกี่ยวข้องกับความรู้อื่นๆบนความสัมพันธ์ในรูปของระเบียบในความสอดคล้อง เกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กันและกันอย่างไรจึงทำให้สรรพสิ่งปรากฏขึ้น จากความรู้นำไปสู่ระเบียบ ทำให้เรากลับไปสู่ความประหลาดใจที่จะต้องกล่าวว่า "ข้าพเจ้าจะทำให้ความประหลาดใจเกิดขึ้นได้อย่างไร" ...(อาเมน)

Essays for Louis I Kahn

Essay 1 แปลและเรียบเรียงจาก
The Gift of Light
by Quoc Doan

เด็กน้อยช่างสงสัยวัยสามขวบ เป็นบุตรช่างทำกระจกสีชาวยิว จ้องมองเปลวไฟสีเขียวที่กำลังลุกไหม้จากก้อนถ่านหิน มีความประหลาดใจกับแสงที่ปรากฏ แทนที่มันจะเป็นเปลวสีแดงหรือสีน้ำเงินเช่นปกติ ขณะที่เขาค่อยๆ จ้องดูเข้าใกล้เปลวไฟนั้น เผอิญเป็นเหตุให้ก้อนถ่านหล่นตกลงบนฟูกที่เขากำลังนั่งอยู่ เปลวไฟได้ลุกไหม้ขึ้นจนเกือบทำให้ไฟไหม้ท่วมตัวเด็กน้อยคนนั้น กระนั้นก็ตาม เปลวเพลิงได้ไหม้ใบหน้าและมือข้างหนึ่งของเขา จนกลายเป็นรอยไหม้ปรากฏอย่างถาวรในเวลาต่อมา มารดาซึ่งเป็นหญิงที่มีการศึกษาอย่างดีทางศิลปะและประเพณี เชื่อมั่นว่านี่เป็นลางบอกเหตุแห่งอนาคตของเด็กน้อยผู้นี้

ต่อมาเมื่อเขาเติบโตขึ้น ก็ได้กลายเป็นสถาปนิกชั้นแนวหน้าผู้หนึ่งของศตวรรษที่ ๒๐ ด้วยการออกแบบเน้นรูปทรงเรขาคณิตของสถาปัตยกรรม ที่สะท้อนความสัมพันธ์อันดีระหว่างที่ว่าง และ ประโยชน์ใช้สอย คุณค่าการออกแบบที่เด่นชัดจะเกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ที่ผูกพัน กับ แสงธรรมชาติ Louis Isadora Kahn ถูกจัดเป็นสถาปนิกสำคัญ ที่เป็นเหมือนสะพานเชื่อมต่อ ระหว่าง สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และ หลังสมัยใหม่นิยม ในเวลาต่อมา ผลงานของเขาเป็นที่กล่าวขานและสร้างแรงบรรดาลใจในการเรียนรู้ของสถาปนิกรุ่นหลังตลอดมา ถือว่าเป็นผู้ที่ได้สัมผัส “the gift of light.” อย่างแท้จริง ดังความเชื่อของมารดา

Louis Kahn เติบโตในเมือง Philadelphia สหรัฐอเมริกา เผชิญอุปสรรคต่างๆมากมายกว่าจะได้บรรลุถึงความเป็นอัฉริยะ ในทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ยังต้องคอยระวังในเรื่องบุคคลิก และการโดนล้อเลียนจากรอยแผลเป็นในวัยเด็ก ครูเป็นผู้สร้างความเชื่อมั่นให้เขาในความมีทักษะในการเขียนแบบ เขียนภาพ และยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่น ให้กับตนเองเมื่อชนะการประกวดภาพวาดแห่งเมือง Philadelphia ระหว่างปีการศึกษาสุดท้ายของการศึกษาระดับมัธยม เขาได้เลือกเรียนวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม อันเป็นเหตุทำให้เขาตัดสินใจเลิกล้มแผนการที่จะศึกษาต่อด้านจิตรกรรมในมหาวิทยาลัย ทั้งที่ก่อนหน้านั้น เขาได้รับการเสนอให้ทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปะ ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เขาเปลี่ยนไปเข้าศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมต่อมา แต่ก็ไม่ละเลยความสนใจต่อจิตรกรรม ซึ่งเขายังคงชื่นชอบอยู่เสมอมา ที่ University of Pennsylvania ..Louis Kahn ศึกษาสถาปัตยกรรมในแนว Beaux-arts อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาการความคิดในการออกแบบของเขาต่อๆมาในภายหลัง หลังจากจบปริญญาทางสถาปัตยกรรม เขาได้มีโอกาศดูงานสถาปัตยกรรมทั่วยุโรป แทนที่จะสนใจสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เขากลับสนใจสถาปัตยกรรมในอดีต เช่น พวกอาคารในเมืองเก่า Carcassonne ของฝรั่งเศส จากประสบการณ์ในครั้งนั้น เขายังหวลรำลึกถึงอยู่เสมอว่า

“It was a great architectural event, centuries ago, when the walls parted and the columns became. The column is the greatest event in architecture, the play of shadow and light , of infinite mystery, The wall is open. The column becomes the giver of light.”

อันเป็นสิ่งเตือนใจถึงอำนาจของ "the gift of light" แสงธรรมชาติ เป็นข้อคำนึงที่สำคัญของการออกแบบโครงสร้างอาคาร ไม่ใช่การเปิดหน้าต่างที่กว้างขวาง หากแต่การให้แสงสอดแทรกเข้าสู่ภายในอาคาร เพื่อการแยกแยะที่ว่างและรูปทรงทางเรขาคณิตของอาคาร การแยกประเภทของที่ว่างอย่างชัดเจน ระหว่างพื้นที่ "serve or master" และพื้นที่ "servant" ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการออกแบบ Richardson Medical Laboratory (1957-1965) ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย การเสนอบรรยากาศของห้องปฏิบัติการของนักวิทยาศาสตร์ เป็นเช่นเดียวกับห้องเขียนภาพของจิตรกร ควรเป็นที่ว่างที่มีชีวิตชีวาและสุขสบายสำหรับการทำงาน ห้องที่อบอุ่นด้วยแสงธรรมชาติ จึงเป็นความต้องการที่จำเป็น ตามคำอ้างที่ว่า

“No space you can devise can satisfy these requirements. I thought what they should have was a corner for thought, in a word, a studio instead of slices of space.”

เขาจัดเรียงกลุ่มห้องปฏิบัติการ สามกลุ่ม เชื่อมต่อกันด้วยปล่องเป็นที่รวมพื้นที่ของ "servant" ไว้ด้วยกัน ประจำแต่ละกลุ่มของห้องปฏิบัติการ โครงสร้างอาคารที่ออกแบบสนับสนุน เป็นระบบสำเร็จรูป คอนกรีตเสริมเหล็ก ทำส่วนยื่นไว้ตรงมุม เป็นการพัฒนาสุนทรีย์ของโครงสร้างที่ก้าวหน้าในยุคนั้น คุณค่าอย่างเดียวกันในการจรรโลงความเป็นมนุษย์ ด้วยแสงธรรมชาตินี้ ถูกนำมาพัฒนาต่อไป ในงานออกแบบ Salk Institute (1959-1965) ที่ La Jolla เป็นลักษณะของการออกแบบชุมชน แยกออกเป็นส่วนๆ ส่วนค้นคว้าเป็นอาคารกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองหลัง วางคู่ขนาน มีลานสะท้อนแสงตรงกลาง ไกลออกไปตรงเนินด้านล่าง เป็นส่วนพักอาศัย ทุกอาคารหันรับแสงธรรมชาติโดยตรงจากด้านมหาสมุทรแปซิฟิค Louis Kahn เน้นแสงธรรมชาติ ปรากฏผ่านรูปทรงสถาปัตยกรรมทางเรขาคณิตอย่างชัดเจน งานออกแบบในระยะเริ่มแรก Yale Art Gallery ที่เมือง New Haven ในรัฐ Connecticut เขาให้แสงกระจายเข้าสู่ภายในอาคารในระดับต่ำ ทำให้เพดานซึ่งเป็นโครงประสานของรูปปิระมิดสามเหลี่ยม สะท้อนให้ปรากฏชัดเจน เพดานลักษณะนี้ยังเป็นที่เก็บซ่อนท่อ และกระจายแสงประดิษฐ์ได้ดีอีกด้วย ดังที่เขา กล่าวไว้ว่า

“better distribution of the general illumination without any diminishment of the opportunities for specific illumination.”

ยังเป็นการเน้นความมีอำนาจทางโครงสร้างของอาคารอีกด้วย การใช้รูปทรงหลักทางเรขาคณิต ยังคงเน้นใช้ต่อเนื่องไปถึงโครงการออกแบบ อาคารรัฐบาลที่ Dacca ในประเทศ Bangladesh (1962-1974) เป็นการใช้อิฐเป็นวัสดุหลักของโครงสร้าง เสริมงานคอนกรีตตรงส่วนเจาะ เป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ การจัดวางเป็นชั้นซ้อนกันหลายชั้น (layers) เพื่อคุณค่าของแสงธรรมชาติ สอดแทรก กระจาย เข้าสู่ที่ว่างสำคัญๆภายในอาคาร สะท้อนการพัฒนาต่อเนื่อง จากอาคารโบราณในอดีตที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับงานออกแบบอาคารห้องสมุด ที่ Philip Exeter Academy เน้นคุณค่าของแสงธรรมชาติเหมือนกัน กล่าวโดยสรุป ให้ความสำคัญของการออกแบบในแนวคลาสสิค เน้นความพิศวงของแสงธรรมชาติที่ปรากฏภายในและภายนอกอาคาร ที่กำหนดจากรูปทรงทางเรขาคณิตที่เคร่งครัด เป็นการปลุกชีวิตแห่งความรุ่งโรจน์ของสถาปัตยกรรมในแนว Beaux arts เปลี่ยนจากความกลัว "the gift of light" ในอดีตแต่เยาว์วัย มาเป็นความกล้า ในการใช้สร้างสิ่งที่มีคุณค่ากับงานสถาปัตยกรรม ที่ต้องกล่าวขานจนถึงปัจจุบันนี้

Essay 2 แปลและเรียบเรียงจาก
That What You Desire and That What Is Available
by Marchelle Rice
(กรณีศึกษา..The Salk Institue. La Jolla, California, USA.)

Louis Kahn เป็นสถาปนิกชาวยิว อพยพมาจาก Estonia ในรัสเซีย เป็นผู้สร้างสถาปัตยกรรมให้โดดเด่น ในลักษณะของความมีแง่มุมกำแพงและที่ว่าง สร้างความเป็นธรรมชาติของอาคารที่มีรูปทรงที่เคร่งครัด เขาเกิดในปี 1901 ที่รัสเซีย และย้ายมาพำนักในสหรัฐอเมริกาในปีเดียวกัน เคยชนะการประกวดวาดภาพและเขียนรูป ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยม ศึกษาและได้รับปริญญาตรีทางสถาปัตยกรรมในปี 1925 จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้รับการสอนในแนว Beaux Arts จากศาสตราจารย์ Paul P. Cret แล้วก็ได้ทำงานในสำนักงานของอาจารย์ท่านนี้ ในระหว่างปี 1929-1930 อิทธิพลทางความคิดบางส่วน ได้รับแรงบรรดาลใจจากเพื่อน Buckminster Fuller และ Frederick Kiesler ในงานออกแบบช่วงปี 1930s และ 1940s. เป็นเวลานานร่วมสามสิบปี ก่อนรับงานออกแบบ The Salk Institute เขาได้ออกแบบอาคารอื่นไว้มากมาย รวมทั้งพวก homes, synagogues, dormitories and medical facilities จากประสบการณ์ของการออกแบบที่ผ่านมา เป็นผลของการพัฒนา ไปสู่งานออกแบบ The Salk Institute. La Jolla, California. ต่อมา เขาเคยกล่าวไว้ว่า
"Inspiration is to express our inclination."

Kahn เชื่อว่าผลลัพท์ของการออกแบบ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ plan แต่ขึ้นอยู่กับหลักการออกแบบอื่นอีกมากมาย เช่น form, content, and context ดังนั้น ความประสงค์ทั้งหมดในการออกแบบ The Salk Institute แสดงออกโดยส่วนต่างๆเหล่านั้น นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานค้นหาคำตอบ จากปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ได้มุ่งแสวงหาเพื่อชื่อเสียงในการรักษาโรคเหล่านั้นให้หายโดยตรง แต่มุ่งมั่นเพื่อบรรลุความปารถณาแห่งตนเองที่ยิ่งใหญ่เหนือขึ้นไปอีก ฉันใดฉันนั้น สำหรับสถาปนิกเช่นเดียวกัน ดังนั้น ทั้ง Kahn และ Salk เห็นตรงกันว่า นอกเหนือจากการออกแบบ เพื่อการใช้งานแล้ว อาคารจะต้องให้คุณค่าของแรงบรรดาลใจแก่ผู้อยู่และผู้มาเยี่ยมเยียนด้วย เขาจึงไม่สามารถออกแบบอาคารอย่างธรรมดาบนสถานที่นี้ได้ หากต้องการสร้างสิ่งเร้าใจ เพื่อผสมผสานความปารถณาแห่งตน กับความบรรดาลใจของวิทยาการสมัยใหม่ในปัจจุบันด้วย

The Salk Institute จึงถูกสร้างสรรค์ให้เป็นศูนย์กลาง ที่อุทิศเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ คุณค่า และสุขภาพทั้งมวล เพราะถ้า นักวิทยาศาสตร์ ปารถณาเพียงเพื่อหาคำตอบของการขจัดเชื้อโรค อันเป็นต้นเหตุของโรคภัยไข้เจ็บของสุขภาพเพียงอย่าง เดียวแล้ว ขบวนการนั้นก็ไม่พอเพียงกับการให้การช่วยเหลือ อย่างที่สุดและเด็ดขาดได้ เหมือนคำกล่าวของ Kahn ที่ว่า "That which you desire and that which is available" ในความหมายสองนัยคือ ความสงบ (Silence) และ ความสว่าง ( Light) รูปทรงของอาคารนี้ ประกอบขึ้นมาจากส่วนต่างๆ ที่แสดงออกมาในรูป ของ สี เส้น รูปทรง แสง และ ความสมดุลป์ของสถานที่ก่อสร้าง ผลลัพท์การออกแบบเขา คือการสร้างภาพของความเหงียบ ความสันโดษ แทนดั่งชีวิตของนักวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ความเหงียบสร้างปัญญาไปสู่การค้นพบความรู้ Kahn พยายามสร้าง สภาพแวดล้อมของการทำงาน ให้เกิดผลทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด แสง น้ำ และ อากาศ จึงเป็นประโยชน์อย่างเหลือเฟือ ในการแสวงหาความคิดที่จำเป็น ในการค้นหา คำตอบได้ โดยการวางตำแหน่งอาคารในจุดเนินสูงที่หันหน้าสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นบ่อเกิดทางชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ดังแสงสว่างในความมืด (ในมหาสมุทร) ทำให้เกิดอนาคต (เกิดสิ่งที่มีชีวิต)

ความคิดนี้ ดูออกจะซับซ้อนในความเข้าใจในกรณีของสถานที่ตั้ง แต่ความเรียบง่ายในการจัดองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม พอจะเข้าใจได้จาก ภาพที่มองเห็นจากกลุ่มอาคารที่กระจายในสถานที่ เรียงตามแนวของชายฝั่ง บริเวณที่ลานโล่ง ระหว่างตึกปฏิบัติการ Luis Barragan ภูมิสถาปนิก ชาวแม๊กซิกัน กำหนดให้เป็นลานคอนกรีตแข็งที่ปราศจากต้นไม้ ยกเว้นช่องแบ่งลาน เป็นทางน้ำไหล ลักษณะโดยทั่วไป เสมือนเป็นกระจก หรือ ผืนผ้าใบเขียนภาพของจิตรกร สะท้อนภาพของท้องฟ้าที่ชัดแจ้ง อาคารสร้างความรู้สึกดูมั่นคงต่อการต้านพายุ ที่อาจผ่านเยือนสถานที่ตั้งได้ ในบางโอกาศ วัสดุสำหรับอาคารจึงต้องทนทาน ต่อสภาพ ของดินฟ้าอากาศ ในบริเวณนั้น เช่น ลมพายุ ลมที่มีสารของเกลือเจือปน อากาศที่ร้อนอบอ้าวในบางฤดูของรัฐแคลิปฟอเนีย วัสดุเช่น ไม้สักเคลือบผิว คอนกรีต สำหรับภายนอก และ สเตนเลสสตีล คอนกรีต ไม้สัก สำหรับภายใน ผิวคอนกรีต ที่มีสีค่อนไปทางแดง ใช้กับภายนอก ทำให้ลักษณะอาคารทั่วไป ดูคล้ายอาคารโบราณในสมัยโรมัน (Pozzolana architecture) ที่เขาชื่นชอบ การกำหนดวัสดุไม่มากชนิด ทำให้อาคารที่ปรากฏดูเรียบง่าย แต่ความคิดในรายละเอียดบางส่วน เช่นผนังคอนกรีตสำเร็จ ทำให้แนวรอยต่อและผืนผนังทั้งหมดดูน่าสนใจ การแสดงออกทางความเรียบง่ายของอาคาร ดูเหมือนเป็นการช่วยลดความยุ่งเหยิงในจิตใจของ นักวิทยาศาสตร์ ที่มีความจำเป็นต้องหมกมุ่นอยู่กับปัญหาที่ซับซ้อนเป็นประจำอยู่แล้ว แนวแกนหลักการวางอาคาร อยู่ในแนวตะวันออกและตะวันตก ในแนวแกนหลักของที่ตั้งนี้ เป็นที่ตั้ง อาคารพักอาศัย ลานเปิดโล่ง และอาคารปฏิบัติการ สองหลัง Kahn และ Salk เห็นตรงกันว่า มหาสมุทร และท้องฟ้า เป็นสิ่งที่ได้มาเพื่อตอบสนองให้เกิดแรงบรรดาลใจกับนักวิทยาศาสตร์ ในช่วงเวลาของการพักผ่อนได้อย่างดี เป็นตัวเชื่อมนักวิทยาศาสตร์เข้าไว้กับธรรมชาติ ความ ร่วมมือกันอย่างดี ระหว่าง สถาปนิกกับเจ้าของอาคารเช่นนี้ นับเป็นเรื่องที่หาได้ยาก คุณค่าต่างๆจึงบังเกิดขึ้น เช่น การเชื่อมบรรยากาศของโลกศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน

ในสถานที่นี้ อาคารหลักของโครงการนี้ คือตึกปฏิบัติการสองหลังและอาคารพักอาศัย อาคารปฏิบัติการมีความยาว ๒๔๕ ฟุต เพดานสูง ๑๑ ฟุต มีช่วงพาดยาว ๖๕ ฟุต ใช้ระบบคานชนิด vierendeel truss โครงสร้างอาคารทั้งหมด ออกแบบป้องกันแผ่นดินไหว ตามเทศบัญญัติ อาคารของรัฐแคลิปฟอเนีย ผนังภายในสามารถเปลี่ยนเคลื่อนย้ายได้ เพื่อความเหมาะสมกับ การติดตั้ง หรือ เพิ่มเติมเครื่องมือต่างๆ เหนือเพดานเป็นพื้นที่สำหรับท่อและอุปกรณ์อื่น มีความสูง ๙ ฟุต สามารถเข้าไปตรวจซ่อมความเสียหายได้สะดวก อาคารปฏิบัติการและสถานที่พักอาศัย Kahn จัดเป็นความคิดของพื้นที่ "serve" และส่วนบริการ เช่น ห้องเครื่องระบบน้ำ ห้องแก๊ส ห้องทำ ความร้อน ห้องเครื่องปรับและระบายอากาศ จัดเป็นส่วนพื้นที่ "servant" ของอาคาร Kahn คิดว่า ถ้าไม่แยกส่วนของอาคารดังกล่าวนี้ ส่วนบริการบางสิ่งจะทำความยุ่งเหยิงให้อาคารในภายหลังได้

งานสร้างสรรค์ที่ The Salk Institue นี้เกิดจากบุคคลสองคนที่มีความปารถนาตรงกัน Kahn เป็นศิลปิน ที่มีความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ ในขณะ ที่ Dr. Salk เป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความคิดเป็นศิลปิน มีความต้องการพื้นฐาน คือ ต้องการสร้างสถานที่ เพื่อเชิญศิลปิน เช่น Picasso ให้มาเยือนได้ ด้วยความพากภูมิใจ ทั้งสองมุ่งสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม ที่มีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์ และเปี่ยมล้นด้วยแรงบรรดาลใจ ในการแสวงคำตอบ จากความมืด ไปสู่ ความสว่าง ความมืดเป็นที่ทำงานของจิตใจ พัฒนาไปสู่ความสว่าง อันเป็นที่ทำงานของกายต่อไป จนบรรลุผล เป็นการค้นหาด้วยแรงปารถนา ที่ไกลเกินจากสิ่งจำเป็นที่ต้องการ จากความเหงียบ นำไปสู่ความสว่าง เป็นความปารถณา ที่จะทำให้บังเกิดขึ้นกับงานสร้างสรรค์ที่ The Salk Institue นี้ Kahn ได้เปิดเผยความปารถนาภายในของตนเอง ออกมาปรากฏในงานออกแบบนี้อย่างสมบูรณ์แล้ว ก่อนที่เขาจะหมดลมหายใจในปี ๑๙๗๔ ด้วยผลงานของเขา จะเป็นดังคำกล่าวที่ว่า

"What was has always been, what is has always been and what will has always been"
Bibliography

1. Henderson, Brain. A Delicate Balance. Architecture (July 1993): 46-49. 2. Kieffer, Jeffery, Criticism: A Reading of Louis Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism 271 (1993): 3-17. 3. artists,many. Modern Architecture. New York: Times Press, 1989. 4. Steel, James. Architecture in Detail: Salk Institute, Louis I. Kahn. London: Phaidon Press Limited, 1993. 5. Tyng, Alexander. Beginnings: Louis Kahnนs Philosophy of Architecture. New York: John Wiley and Sons, Inc., 1984. 6. Venturi, Robert, Salk Addition:Pro and Con, Architecture ( July 1993): 41-45. Endnotes (by the author in the original text) 1. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 6.2. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 10.3. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24 .4. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 6. 5. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 45. 6.. Patrick Pacheco, A Sense of Where You Are, Art and Antiques (December 1990), 117. 7. Pacheco, 117. 8. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24. 9. Steele, 42,43. 10. Jeff Kieffer, Criticism: a Reading of Louis I Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism (1993), 6. 11. Kieffer, 3. 12. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark,Progressive Architecture (October 1993), 44. 13. Jeff Kieffer, Criticism: a Reading of Louis I Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism (1993), 3. 13. Micheal Crosby, The Salk Institute:Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 14. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 15. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 16. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 17. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 18. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24. 19. Steele, 37. 20. Alexander Tyng, Beginnings (New York : John Wiely and Sons,1984), 140. 21. Ibid., 36 22. Ibid., 4 23. Ibid., 4 24. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 25. William J.Curtis, Modern Architecture (London: Phaidon Press Limited,1996), 613. 26. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 33. 27. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 27. 28. Ibid.,189
see also:
http://calvin.cc.ndsu.nodak.edu/Arch/Kahn/Kahn.html
http://home.earthlink.net/~lkuper/arkitect/Kahn.html
http://www.skewarch.com/archi-lab/

Modulor Man

Louis I. Kahn (1901-74)


Kahn ได้รับการฝึกฝนในรูปแบบการศึกษาของ Beaux-Arts tradition ที่มหาวิทยาลัย Pennsylvania สมัย Paul P. Cret เป็นผู้อำนวยการ เขาเริ่มทำงานในสำนักงาน Cret's office ในช่วงปี 1929-30. ในปี 1930s ถึง 40s เคยร่วมงานทางความคิดที่ท้าทายกับ Buckminster Fuller และ Frederick Kiesler. ต่อมาได้พัฒนาความคิดของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ไปสู่การสร้างสรรค์ระเบียบที่ต่อเนื่องกันและกัน จากรูปแบบโครงสร้างที่บึกบึนเดิม เขากำหนดที่ว่าง ในความหมายของความทึบที่เกิดจากกำแพงอิฐ ด้วยโครงสร้างที่โปร่งใส ดูเข้าใจง่าย ในองค์ประกอบทางเรขาคณิต รูปแบบเป็นทางการ มีแกนปรากฏอย่างชัดเจน เป็นลักษณะปรากฏที่สำคัญของ ที่ว่าง และรูปทรงอาคารที่เกิดขึ้นตามระเบียบวิธีการของความเป็น Beaux-Arts tradition. Kahn's architecture เน้นคุณภาพทางอารมณ์ รื้อฟื้นความทรงจำในอดีตของอาคารก่ออิฐโบราณที่ขาดหายไป


จุดต่างทางทฤษฎีของ Kahn's คือ การกำหนดตรงประโยชน์การใช้สอย แต่ขยายปรัชญาที่เป็นสาระการใช้สอยของอาคารมากขึ้น "human institution" เป็นที่ซึ่งอาคารต้องตอบสนองให้บังเกิดขึ้น "human institutions" ก่อกำเนิดจากแรงบรรดาลใจของการมีชีวิตอยู่ที่ดี ในสามประการ คือ แรงบรรดาลใจที่จะเรียนรู้ แรงบรรดาลใจที่จะพบกันและกัน และแรงบรรดาลใจที่จะอยู่อย่างปกติสุข และสิ่งเหล่านี้ เขาก็พยายามสะท้อนความคิดในด้านการศึกษาด้วย

"I think of school as an environment of spaces where is good to learn. Schools began with a man under a tree, who did not know he was a teacher, discussing his realization with a few who did not know they were students . . . the existence-will of school was there even before the circumstances of a man under a tree. That is why is good for the mind to go back to the beginning, because the beginning of any established activity is its most wonderful moment."
ปรัชญาข้างต้นนี้ สะท้อนถึงคำตอบในงานสร้างสรรค์ของเขาในทางรูปทรงสถาปัตยกรรม อาคารไม่ใช่การก่อเกิดของการจัดที่ว่าง และรูปทรง อย่างเฉื่อยชา แต่ควรก่อให้เกิดความมีชีวิตชีวา สร้างสรรค์โดยสถาปนิก เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ บ่อยครั้งที่เขามักตั้งคำถาม "What does the building want to be?" นี่เป็นการตอบสนองการสร้างระเบียบที่กว้างขวางไร้ขอบเขตจำกัด เขาทำให้ปรากฏในงานออกแบบระยะหลัง ด้วยการแสดงออกของขบวนการก่อสร้าง ที่ปรากฏได้ชัดเจนทางรูปทรงสถาปัตยกรรม ประโยชน์ใช้สอยต้องรวมอยู่ในรูปทรงทางสถาปัตยกรรม แต่ต้องค้นพบได้จากขบวนการออกแบบทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้น ความงาม ไม่ใช่สิ่งที่เขาให้ความสนใจในทันที แต่เป็นความจริงที่แสดงออกมา และเหมาะสมกับประโยชน์ที่มุ่งหมาย ตามความคิดเขา เป็นส่วนเกี่ยวข้องกับความประสงค์ที่เรียกร้องให้ปรากฏขึ้น เขาสรุปไว้ว่า ลักษณะพื้นฐานและคุณสมบัติของอาคารต้องการการค้นหาให้ปรากฏ ต้องใส่ใจ ต้องสรุปรวมไว้ ให้เกิดขึ้นให้ได้ในรูปทรงของสถาปัตยกรรม และแล้ว ความงามของสถาปัตยกรรมนั้น ก็จะบังเกิดขึ้นในที่สุด

Kahn ให้ความสำคัญกับ แสงธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งทำให้สถาปัตยกรรมมีชีวิตได้ ไม่เหมือนแสงประดิษฐ์ ซึ่งคงที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลง จึงเป็นความตาย. Light ในความคิดเขา ไม่เพียงทำให้มนุษย์มองเห็นสิ่งต่างๆได้เท่านั้น แต่เป็นสาระในตัวมันเอง มันเป็นตัวแทนของธรรมชาติ ซึ่งกฏเกณท์และสาระต่างๆถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน เขาพิศวง ธรรมชาติของแสงที่เป็นเส้นโค้ง คุณสมบัติที่ให้ผลทางจิตวิทยาและความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่มหัศจรรย์ ในความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ของวันเวลาและฤดูกาล Kahn มองเห็นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม ในรูปของ column, arch, dome, and vault, ในความสามารถที่กำหนด แสงและเงา ให้ปรากฏขึ้นในงานสถาปัตยกรรม ในปี 1939, Kahn ปฏิเสธความคิดง่ายๆ ที่ยึดถือกันในสังคม เช่น ลัทธิประโยชน์ใช้สอยนิยม จะต้องสามารถสะท้อนคุณประโยชน์ให้เด่นชัด ในโครงการศึกษา Rational City (1939-48) เขามองเห็น ความต้องการที่ทำให้เกิดความแตกต่างชัดเจน ระหว่าง สถาปัตยกรรม "viaduct" ท่อลำเลียงน้ำ (Le Corbusier's "Ville Radieuse") และอาคารในลักษณะของความเป็นมนุษย์ การจัดวางแผนผังส่วนกลางของเมือง Philadelphia เขาพยายามนำรูปแบบเก่า ของ Piranesi's Rome ในยุคปี 1762 มาประยุกต์ใช้กับเมืองในสมัยใหม่ การเปรียบเทียบถนนทางด่วนเหมือนแม่น้ำ ถนนที่มีสัญญานไฟจราจร เหมือนลำคลอง เขาระมัดระวัง ต่อความขัดแย้งของรถยนต์และเมือง และการเชื่อมต่อที่ล้มเหลว ระหว่าง ผู้บริโภคกับศูนย์การค้าในชนบท และความเสื่อมโทรมของศูนย์กลางชุมชนหลักๆในเมือง เขาเสนอคำตอบในความคิดของ "dock" ท่าจอดเรือ (1956) ประกอบเป็นอาคารปล่องกลมสูง ๖ ชั้น สำหรับที่จอดรถ จุได้ 1,500 คัน ล้อมรอบด้วยกลุ่มอาคารทั่วไปสูง ๑๘ ชั้น ในลักษณะคำนึงถึงขนาดใกล้เคียงสัดส่วนของมนุษย์

Kahn ออกแบบโครงการสำหรับ Philadelphia City Hall (1952-7) มี Ann Tyng เป็นผู้ร่วมงาน โครงการนี้ได้รับอิทธพลความคิดจากผู้ที่เคยสนใจเรื่องเดียวกันมาก่อน คือ Buckminster Fuller จากความคิดพื้นฐานของ geodesic skyscraper ซึ่งประกอบด้วยพื้น เป็นหน่วยๆ รูปปิระมิดสามเหลี่ยม เป็นโครงสร้างสูงที่สามารถตอบสนองการต้านแรงลมโดยตรง,

ในปี 1954, ผลงานออกแบบ Yale Art Gallery เน้นสาระสำคัญของ กำแพง พื้น และ เพดาน อย่างเด่นชัด ประกอบเป็นปริมาตรที่ว่างสำคัญ รูปหกเหลี่ยม กำเนิดจากรูปโค้งกลม เป็นที่ตั้งของบันได กล่องโค้งกลมนี้เป็นส่วนของ "servant" และพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมอื่น เป็น "served" สถาปัตยกรรมที่ไม่สมดุลป์นี้ ไม่ขึ้นอยู่กับหลักการใด ของการประกอบเป็นโครงสร้างโดยทั่วๆไป แต่เป็นการจัดแจงพื้นแผ่นผืนที่ไร้ข้อจำกัดในการสนองการรับแสงธรรมชาติ การจัดที่ว่าง และเสารองรับภายในอาคาร

ในปี 1957, Louis Kahn มีชื่อเสียงในการออกแบบอาคาร Richards Medical Research (1957-61) ให้กับ the University of Pennsylvania ในเมือง Philadelphia. กล่องกำแพงอิฐที่เป็นช่องท่อต่างๆ แสดงออกเหมือนปล่องระบายควันไฟจากเตาผิงในบ้าน ห้องปฏิบัติการผนัง กระจก สะท้อน ภาพหอคอยป้องกันภัยของสถาปัตยกรรมในยุคกลาง หรือเมืองตามภูเขาในอิตาลี่ หลักการสำคัญในการออกแบบ Richards Laboratories คือการกำหนดความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่าง ที่ว่างของ "served" และ "servant" ห้องปฏิบัติการผนังกระจกเป็น "served spaces" แยกจากปล่องอิฐสูงที่ทำหน้าที่เป็น "servant spaces" แต่ละอัน ต่างมีโครงสร้างเป็นอิสระจากกัน ความคิดที่ซับซ้อนในการออกแบบ เป็นวิธีการของเขาที่กำหนดเป็นการรวมตัวของหน่วยหลัก ที่ต่อเนื่องกันเป็นแนว ยอมรับการขยายตัวของชุมชน ที่เน้นเป็นปัญหาสำคัญในสมัยนั้น

ในปี 1959, เขาออกแบบ First Unitarian Church ที่ Rochester New York (1959-63). แนวคิดหลักของโบสถ์ คือ ที่ประกอบพิธีตรงกลาง ทางเดิน และ โรงเรียน ถูกจัดล้อมรอบตามที่นิยมกัน งานออกแบบขั้นสุดท้าย ประกอบด้วย กล่องจตุรัสสองกล่องรวมกันอยู่ตรงกลาง มีปล่องสูง ๔ ปล่องแยกกันอยู่ตรง ๔ มุม ซึ่งเป็นที่รับ และกระจายแสงธรรมชาติไปทั่วบริเวณภายในห้องประกอบพิธีของโบสถ์

ในปี1962, เขาออกแบบอาคาร National Assembly ในเมือง Dacca ประเทศ Bangladesh (1962-74) เป็นวางการซ้อนกันของกำแพงอิฐหลายส่วน (layers) โดยรอบ ก่อนถึงที่ว่างชั้นในสุด ที่เป็นห้องประชุมใหญ่ ห้องแถลงข่าว ห้องประชุมย่อย และห้องสวดมนต์ ซึ่งวางแนวตรงไปที่นครเมกกะ ตามหลักการของศาสนาอิสลาม ให้ลักษณะเด่นชัด เช่นเดียวกับป้อมปราการในอดีต แนวคิดเรื่องการวางแนวซ้อนหลายชั้นนี้ เพื่อผลการกรองรับแสงธรรมชาติ และผ่านตรงส่วนตัดเฉือนของกล่อง ที่ประกอบด้วยกำแพงก่อโชว์แนว เสริมบางส่วนด้วยโครงคอนกรีตตรงช่องเปิด คุณสมบัติที่เกิดขึ้นนี้ อ้างว่าเขาได้รับแรงบรรดาลใจจากความคิด "brise-soleil" ของ Le Corbusier โดยสรุปความคิด เขาบันทึกไว้ดังนี้ "I thought of the beauty of ruins . . . of things which nothing lives behind . . . and so I thought of wrapping ruins around buildings."

ในปี 1966-ผลงานออกแบบ Kimbell Art Museum ในเมือง Fort Worth, Texas (1966-72), ใช้แนวคิดของหน่วยซ้ำของโครงสร้างผิวเปลือกโค้งทางเดียว แต่ละหน่วย (barrel-vaulted bay) มีขนาด 20 ฟุต x 100 ฟุต วางต่อเนื่องเป็น ๖ แถวขนานกัน แต่ละโค้งเป็นแนวยาว ทำหน้าที่เป็นเหมือนคานยาว ความกว้างโค้ง ๒.๕ ฟุต ลึกถึงฐานตรงคานขอบ ๑๐ ฟุต ส่วนบนสุดของโค้ง เจาะช่องแสงยาวติดแผงโลหะ "natural lighting fixture" ผิวมันโค้ง เพื่อกระจายแสง "silver light" แล้วรวมตัวกับบริเวณสวนปฏิมากรรม เป็น "green light" ลงด้านล่างภายในอาคาร

เรียบเรียงจากบางส่วน หรือทั้งหมดจากเอกสารต้นฉบับที่ผลืตโดย
Bret Thompson
Paul Holje
Jack Potamianos


http://calvin.cc.ndsu.nodak.edu/Arch/Kahn/Kahn.html

Louis I Kahn is considered to be one of the great master builders of our time. This is an educational compilation of his work and history. You may use the navagation bar at the top to explore other parts of this profile.
"You can never learn anything that is not a part of yourself."
  • B a c k g r o u n d T i m e l i n e
    1901: Born in Osel, Estonia
    1905: Came to Philidelphia, USA
    1928: Studied classical architecture in Europe
    1937-1939: Participated in Public Housing Projects
    1947: Taught at Yale Univ.
    1955: Taught at Univ. of Pennsylvania
    1965: F.A.I.A. Medal of Honor Danish Architectural Association,
    1971: Gold Medal, A.I.A.,
    1972: Royal Gold Medal for Architecture, R.I.B.A.,
    1974: Passed away
F a m o u s S t r u c t u r es ..............Year .........................Location
Yale Univ. Art Gallery ...................1951-53 ............New Haven, Connecticut
Newton Richards Medical Research Building 1957-65 Philidelphia, Pennsylvania
First Ulitarian Church and School ...1959-69 ...........Rochester New York
Salk Institute for Biological Studies ..1959-65 .............La Jolla, California
Philip Exeter Academy Library ..........1965-72 ...........Exeter, New Hampshir
Kimbell Art Museum ...........................1966-72 ............Fort Worth, Texas
Sher-E-Bangladesh Nagar: National Capital of Bangladesh Assembly Hall *(completed by D.Wisdom & Associates) ..1962-83 ........Daka, Bangladesh
__________________________________________________