Essay 1 แปลและเรียบเรียงจาก
The Gift of Light
by Quoc Doan
The Gift of Light
by Quoc Doan

ต่อมาเมื่อเขาเติบโตขึ้น ก็ได้กลายเป็นสถาปนิกชั้นแนวหน้าผู้หนึ่งของศตวรรษที่ ๒๐ ด้วยการออกแบบเน้นรูปทรงเรขาคณิตของสถาปัตยกรรม ที่สะท้อนความสัมพันธ์อันดีระหว่างที่ว่าง และ ประโยชน์ใช้สอย คุณค่าการออกแบบที่เด่นชัดจะเกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ที่ผูกพัน กับ แสงธรรมชาติ Louis Isadora Kahn ถูกจัดเป็นสถาปนิกสำคัญ ที่เป็นเหมือนสะพานเชื่อมต่อ ระหว่าง สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และ หลังสมัยใหม่นิยม ในเวลาต่อมา ผลงานของเขาเป็นที่กล่าวขานและสร้างแรงบรรดาลใจในการเรียนรู้ของสถาปนิกรุ่นหลังตลอดมา ถือว่าเป็นผู้ที่ได้สัมผัส “the gift of light.” อย่างแท้จริง ดังความเชื่อของมารดา

“It was a great architectural event, centuries ago, when the walls parted and the columns became. The column is the greatest event in architecture, the play of shadow and light , of infinite mystery, The wall is open. The column becomes the giver of light.”
อันเป็นสิ่งเตือนใจถึงอำนาจของ "the gift of light" แสงธรรมชาติ เป็นข้อคำนึงที่สำคัญของการออกแบบโครงสร้างอาคาร ไม่ใช่การเปิดหน้าต่างที่กว้างขวาง หากแต่การให้แสงสอดแทรกเข้าสู่ภายในอาคาร เพื่อการแยกแยะที่ว่างและรูปทรงทางเรขาคณิตของอาคาร การแยกประเภทของที่ว่างอย่างชัดเจน ระหว่างพื้นที่ "serve or master" และพื้นที่ "servant" ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการออกแบบ Richardson Medical Laboratory (1957-1965) ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย การเสนอบรรยากาศของห้องปฏิบัติการของนักวิทยาศาสตร์ เป็นเช่นเดียวกับห้องเขียนภาพของจิตรกร ควรเป็นที่ว่างที่มีชีวิตชีวาและสุขสบายสำหรับการทำงาน ห้องที่อบอุ่นด้วยแสงธรรมชาติ จึงเป็นความต้องการที่จำเป็น ตามคำอ้างที่ว่า
“No space you can devise can satisfy these requirements. I thought what they should have was a corner for thought, in a word, a studio instead of slices of space.”
เขาจัดเรียงกลุ่มห้องปฏิบัติการ สามกลุ่ม เชื่อมต่อกันด้วยปล่องเป็นที่รวมพื้นที่ของ "servant" ไว้ด้วยกัน ประจำแต่ละกลุ่มของห้องปฏิบัติการ โครงสร้างอาคารที่ออกแบบสนับสนุน เป็นระบบสำเร็จรูป คอนกรีตเสริมเหล็ก ทำส่วนยื่นไว้ตรงมุม เป็นการพัฒนาสุนทรีย์ของโครงสร้างที่ก้าวหน้าในยุคนั้น คุณค่าอย่างเดียวกันในการจรรโลงความเป็นมนุษย์ ด้วยแสงธรรมชาตินี้ ถูกนำมาพัฒนาต่อไป ในงานออกแบบ Salk Institute (1959-1965) ที่ La Jolla เป็นลักษณะของการออกแบบชุมชน แยกออกเป็นส่วนๆ ส่วนค้นคว้าเป็นอาคารกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองหลัง วางคู่ขนาน มีลานสะท้อนแสงตรงกลาง ไกลออกไปตรงเนินด้านล่าง เป็นส่วนพักอาศัย ทุกอาคารหันรับแสงธรรมชาติโดยตรงจากด้านมหาสมุทรแปซิฟิค Louis Kahn เน้นแสงธรรมชาติ ปรากฏผ่านรูปทรงสถาปัตยกรรมทางเรขาคณิตอย่างชัดเจน งานออกแบบในระยะเริ่มแรก Yale Art Gallery ที่เมือง New Haven ในรัฐ Connecticut เขาให้แสงกระจายเข้าสู่ภายในอาคารในระดับต่ำ ทำให้เพดานซึ่งเป็นโครงประสานของรูปปิระมิดสามเหลี่ยม สะท้อนให้ปรากฏชัดเจน เพดานลักษณะนี้ยังเป็นที่เก็บซ่อนท่อ และกระจายแสงประดิษฐ์ได้ดีอีกด้วย ดังที่เขา กล่าวไว้ว่า
“better distribution of the general illumination without any diminishment of the opportunities for specific illumination.”
ยังเป็นการเน้นความมีอำนาจทางโครงสร้างของอาคารอีกด้วย การใช้รูปทรงหลักทางเรขาคณิต ยังคงเน้นใช้ต่อเนื่องไปถึงโครงการออกแบบ อาคารรัฐบาลที่ Dacca ในประเทศ Bangladesh (1962-1974) เป็นการใช้อิฐเป็นวัสดุหลักของโครงสร้าง เสริมงานคอนกรีตตรงส่วนเจาะ เป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ การจัดวางเป็นชั้นซ้อนกันหลายชั้น (layers) เพื่อคุณค่าของแสงธรรมชาติ สอดแทรก กระจาย เข้าสู่ที่ว่างสำคัญๆภายในอาคาร สะท้อนการพัฒนาต่อเนื่อง จากอาคารโบราณในอดีตที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับงานออกแบบอาคารห้องสมุด ที่ Philip Exeter Academy เน้นคุณค่าของแสงธรรมชาติเหมือนกัน กล่าวโดยสรุป ให้ความสำคัญของการออกแบบในแนวคลาสสิค เน้นความพิศวงของแสงธรรมชาติที่ปรากฏภายในและภายนอกอาคาร ที่กำหนดจากรูปทรงทางเรขาคณิตที่เคร่งครัด เป็นการปลุกชีวิตแห่งความรุ่งโรจน์ของสถาปัตยกรรมในแนว Beaux arts เปลี่ยนจากความกลัว "the gift of light" ในอดีตแต่เยาว์วัย มาเป็นความกล้า ในการใช้สร้างสิ่งที่มีคุณค่ากับงานสถาปัตยกรรม ที่ต้องกล่าวขานจนถึงปัจจุบันนี้
Essay 2 แปลและเรียบเรียงจาก
That What You Desire and That What Is Available
by Marchelle Rice
(กรณีศึกษา..The Salk Institue. La Jolla, California, USA.)

"Inspiration is to express our inclination."
Kahn เชื่อว่าผลลัพท์ของการออกแบบ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ plan แต่ขึ้นอยู่กับหลักการออกแบบอื่นอีกมากมาย เช่น form, content, and context ดังนั้น ความประสงค์ทั้งหมดในการออกแบบ The Salk Institute แสดงออกโดยส่วนต่างๆเหล่านั้น นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานค้นหาคำตอบ จากปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ได้มุ่งแสวงหาเพื่อชื่อเสียงในการรักษาโรคเหล่านั้นให้หายโดยตรง แต่มุ่งมั่นเพื่อบรรลุความปารถณาแห่งตนเองที่ยิ่งใหญ่เหนือขึ้นไปอีก ฉันใดฉันนั้น สำหรับสถาปนิกเช่นเดียวกัน ดังนั้น ทั้ง Kahn และ Salk เห็นตรงกันว่า นอกเหนือจากการออกแบบ เพื่อการใช้งานแล้ว อาคารจะต้องให้คุณค่าของแรงบรรดาลใจแก่ผู้อยู่และผู้มาเยี่ยมเยียนด้วย เขาจึงไม่สามารถออกแบบอาคารอย่างธรรมดาบนสถานที่นี้ได้ หากต้องการสร้างสิ่งเร้าใจ เพื่อผสมผสานความปารถณาแห่งตน กับความบรรดาลใจของวิทยาการสมัยใหม่ในปัจจุบันด้วย


ในสถานที่นี้ อาคารหลักของโครงการนี้ คือตึกปฏิบัติการสองหลังและอาคารพักอาศัย อาคารปฏิบัติการมีความยาว ๒๔๕ ฟุต เพดานสูง ๑๑ ฟุต มีช่วงพาดยาว ๖๕ ฟุต ใช้ระบบคานชนิด vierendeel truss โครงสร้างอาคารทั้งหมด ออกแบบป้องกันแผ่นดินไหว ตามเทศบัญญัติ อาคารของรัฐแคลิปฟอเนีย ผนังภายในสามารถเปลี่ยนเคลื่อนย้ายได้ เพื่อความเหมาะสมกับ การติดตั้ง หรือ เพิ่มเติมเครื่องมือต่างๆ เหนือเพดานเป็นพื้นที่สำหรับท่อและอุปกรณ์อื่น มีความสูง ๙ ฟุต สามารถเข้าไปตรวจซ่อมความเสียหายได้สะดวก อาคารปฏิบัติการและสถานที่พักอาศัย Kahn จัดเป็นความคิดของพื้นที่ "serve" และส่วนบริการ เช่น ห้องเครื่องระบบน้ำ ห้องแก๊ส ห้องทำ ความร้อน ห้องเครื่องปรับและระบายอากาศ จัดเป็นส่วนพื้นที่ "servant" ของอาคาร Kahn คิดว่า ถ้าไม่แยกส่วนของอาคารดังกล่าวนี้ ส่วนบริการบางสิ่งจะทำความยุ่งเหยิงให้อาคารในภายหลังได้

"What was has always been, what is has always been and what will has always been"
Bibliography
1. Henderson, Brain. A Delicate Balance. Architecture (July 1993): 46-49. 2. Kieffer, Jeffery, Criticism: A Reading of Louis Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism 271 (1993): 3-17. 3. artists,many. Modern Architecture. New York: Times Press, 1989. 4. Steel, James. Architecture in Detail: Salk Institute, Louis I. Kahn. London: Phaidon Press Limited, 1993. 5. Tyng, Alexander. Beginnings: Louis Kahnนs Philosophy of Architecture. New York: John Wiley and Sons, Inc., 1984. 6. Venturi, Robert, Salk Addition:Pro and Con, Architecture ( July 1993): 41-45. Endnotes (by the author in the original text) 1. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 6.2. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 10.3. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24 .4. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 6. 5. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 45. 6.. Patrick Pacheco, A Sense of Where You Are, Art and Antiques (December 1990), 117. 7. Pacheco, 117. 8. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24. 9. Steele, 42,43. 10. Jeff Kieffer, Criticism: a Reading of Louis I Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism (1993), 6. 11. Kieffer, 3. 12. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark,Progressive Architecture (October 1993), 44. 13. Jeff Kieffer, Criticism: a Reading of Louis I Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism (1993), 3. 13. Micheal Crosby, The Salk Institute:Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 14. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 15. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 16. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 17. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 18. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24. 19. Steele, 37. 20. Alexander Tyng, Beginnings (New York : John Wiely and Sons,1984), 140. 21. Ibid., 36 22. Ibid., 4 23. Ibid., 4 24. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 25. William J.Curtis, Modern Architecture (London: Phaidon Press Limited,1996), 613. 26. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 33. 27. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 27. 28. Ibid.,189
see also:
http://calvin.cc.ndsu.nodak.edu/Arch/Kahn/Kahn.html
http://home.earthlink.net/~lkuper/arkitect/Kahn.html
http://www.skewarch.com/archi-lab/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น